ความเสียหาย
ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย / World Bank

จากรายงานสรุปสถานการณ์อุทกภัยของประเทศไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่าในปี 2554 ที่เกิดมหาอุทกภัยรุนแรง มีจังหวัดที่ได้รับผลประทบทั้งสิ้น 74 จังหวัด รวม 844 อำเภอ 5,919 ตำบล 53,380 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความ

เดือดร้อน 16,224,302 คน 5,247,125 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1,026 คน บาดเจ็บ 33 คน มีบ้านพังทั้งหลัง 2,632 หลัง บ้านพังบางส่วน 477,595 หลัง อาคารพาณิชย์ 4,011 แห่ง โรงงาน 1,823 แห่ง วัด/โรงเรียน 4,563 แห่ง ปศุสัตว์ 2,263,408

ตัว พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 11,798,241 ไร่ รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 23,839 ล้านบาท รายละเอียดเพิ่มเติม ดังตาราง และรายงานรายเดือนด้านล่าง



ตารางสรุปสถานการณ์อุทกภัยของประเทศไทย พ.ศ.2552-2563

เดือนมกราคม มีจังหวัดที่ประสบภัยทั้งสิ้น 38 จังหวัด รวม 373 อำเภอ 2,723 ตำบล 23,599 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,747,106 ครัวเรือน 5,647,262 คน จังหวัดที่ประสบอุทกภัย ได้แก่ จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ ระยอง จันทบุรี ตราด

ตาก ชลบุรี ลำพูน เชียงใหม่ สระแก้ว นครนายก กำแพงเพชร พิษณุโลก หนองบัวลำภู ปราจีนบุรี จังหวัดสมุทรปราการ นครสวรรค์ อุทัยธานี นครราชสีมา ชัยภูมิ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม

อุบลราชธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นนทบุรี ปทุมธานี และ ฉะเชิงเทรา มีผู้เสียชีวิต 104 ราย พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าเสียหาย 4,128,373 ไร่


เดือนกุมภาพันธ์ ไม่มีรายงานความเสียหายด้านอุทกภัย

เดือนมีนาคม มีจังหวัดที่ประสบภัยทั้งสิ้น 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร สงขลา กระบี่ พังงา สตูล และจังหวัดนราธิวาส รวม 100 อำเภอ 646 ตาบล 5,229 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 581,085 ครัวเรือน 2,009,134 คน มีผู้เสียชีวิต 45 ราย ประกอบด้วย นครศรีธรรมราช 19 ราย สุราษฎร์ธานี 10 ราย พัทลุง 2 ราย กระบี่ 9 ราย ชุมพร 2 ราย ตรัง 2 ราย พังงา 1 ราย บ้านเรือน

เสียหายทั้งหลัง 24 หลัง บางส่วน 2,608 หลัง สิ่งสาธารณประโยชน์เสียหายเบื้องต้น ถนน 3,133 สาย ท่อระบายน้า 321 แห่ง ฝาย 52 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 295 แห่ง วัด/โรงเรียน 340 แห่ง สถานที่ราชการ 76 แห่ง ด้านการเกษตร เกษตรกรเดือดร้อน 176,518 ราย พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 1,049,634 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 311,383 ไร่ พืชไร่ 53,577 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 684,674 ไร่ สำหรับยางพารา ประมาณการพื้นที่คาดว่าจะเสียหายจากดินโคลนถล่ม

ไม่เกิน 50,000 ด้านปศุสัตว์ เกษตรกรเดือดร้อน 89,217 ราย สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 4,360,518 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 181,415 ตัว สุกร/แพะ/แกะ 665,643 ตัว สัตว์ปีก 3,513,460 ตัว แปลงหญ้า 5,304 ไร่ ด้านประมง เกษตรกรเดือดร้อน 22,909 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้าได้รับความเสียหาย 36,265 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 58,168 ไร่ และ 7,421 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 107,842 ตารางเมตร เรือประมงประสบภัย 62 ลำ


เดือนเมษายน มีพื้นที่ประสบภัย รวม 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร สงขลา กระบี่ พังงา สตูล และจังหวัดนราธิวาส 100 อำเภอ 651 ตาบล 5,430 หมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 64 ราย ประกอบด้วย นครศรีธรรมราช 26 ราย พัทลุง 5 ราย สุราษฎร์ธานี 15 ราย ตรัง 2 ราย ชุมพร 3 รายกระบี่ 12 ราย พังงา 1 ราย ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 628,998 ครัวเรือน 2,094,595 คน ทางด้านทรัพย์สิน มีบ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 813 หลัง เสียหายบางส่วน 16,664 หลัง ถนน 6,013 สาย

ท่อระบายน้ำ 922 แห่ง ฝาย/ทำนบ 227 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 748 แห่ง วัด/โรงเรียน/มัสยิด 694 แห่ง สถานที่ราชการ 179 แห่ง พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 1,106,150 ไร่ สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 5,791,175 ตัว และพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้าได้รับความเสียหาย 37,935 บ่อ ด้านการเกษตร (ข้อมูลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ วันที่ 18 เมษายน 2554) มีพื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร 12 จังหวัด เกษตรกรเดือดร้อน 189,649 ราย พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 1,106,150 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 319,955 ไร่ พืชไร่ 59,282

ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 726,913 ไร่ ด้านปศุสัตว์ ประสบภัย 9 จังหวัด เกษตรกรเดือดร้อน 118,877 ราย สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 5,791,175 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 204,265 ตัว สุกร-แพะ-แกะ 240,030 ตัว สัตว์ปีก 5,346,880 ตัว แปลงหญ้า 5,304 ไร่ ด้านประมง ประสบภัยทั้งสิ้น 10 จังหวัด เกษตรกรเดือดร้อน 22,866 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้าได้รับความเสียหาย 37,935 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 58,918 ไร่ และ 6,608 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 133,398 ตารางเมตร เรือประมงประสบภัย 62 ลำ


เดือนพฤษภาคม มีพื้นที่ประสบภัย รวม 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง ลำพูน แพร่ สุโขทัย นครสวรรค์ พิษณุโลก และนครราชสีมา

ครั้งที่ 1 พื้นที่ประสบภัย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง ลำพูน แพร่ และสุโขทัย โดยเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันที่จังหวัดลำปาง ในพื้นที่ 9 อำเภอ 30 ตำบล 141 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองลำปาง แจ้ห่ม แม่พริก เถิน เสริมงาม สบปราบ เมืองปาน แม่ทะ และอำเภอแม่เมาะ ที่จังหวัดลำพูน เกิดน้าป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่อำเภอลี้ 7 ตำบล 84 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลดงดา นาทราย ลี้ ศรีวิชัย แม่ตื่น ป่าไผ่ และตำบลแม่ลาน ช่วงวันที่ 9-10 พฤษภาคม 2554 เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมถนนสายอำเภอลอง – แพร่ พื้นที่อำเภอลอง จ.แพร่ บริเวณกิโลเมตรที่ 20 สาเหตุจากถนนขวางทางน้ำทำให้น้ำระบายไม่ทัน วันที่ 11

พฤษภาคม 2554 เกิดน้ำเอ่อล้นจากแม่น้ำยมไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ายมในพื้นที่อำเภอเมืองสุโขทัย ที่ตำบลปากพระ

ครั้งที่ 2 พื้นที่ประสบภัย รวม 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง และจังหวัดนครสวรรค์ โดยในวันที่ 19 พฤษภาคม 2554 เกิดฝนตกหนักมากต่อเนื่องทำให้น้ำป่าจากห้วยขุนทะ ไหลหลากเข้าท่วมบ้านผาลาด หมู่ที่ 4 ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง และท่วมถนนสาย ลำปาง-แม่เมาะ ช่วงบ้านผาลาด ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำ ระดับน้ำสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ความเสียหายเบื้องต้นพบว่า ส่วนใหญ่เป็นรั้วบ้าน กำแพงบ้าน คันคลอง พนังกั้นน้ำ ถนนในหมู่บ้านและพืชผลทางเกษตร และในวันที่ 19 พฤษภาคม 2554 เกิดฝนตกติดต่อกันหลายวันทำให้น้ำจากเทือกเขาห้วยขาแข้ง ไหลบ่าลงมาเข้าท่วมถนนสายนครสวรรค์ – ลาดยาว บ้านดอนโม่ ตาบลสระแก้ว และ

บ้านหนองนมวัว ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์

ครั้งที่ 3 พื้นที่ประสบภัย รวม 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดพิษณุโลก โดยในวันที่ 26 พฤษภาคม 2554 เกิดฝนตกหนักมากในพื้นที่อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา วัดปริมาณฝนสูงสุดได้ 123.5 มม. ทำให้น้ำป่าจากเนินเขาในพื้นที่ตาบลโนนรัง ไหลลงมาท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ตำบลโนนยอ และตำบลชุมพวง และในวันที่ 30 พฤษภาคม 2554 เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จ.พิษณุโลก วัดปริมาณฝนสูงสุดได้ 131.0 มม. ทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่บ้านน้ำปาด หมู่ที่ 2 ตาบลชมพู ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ประมาณ 100 ครัวเรือน ในเบื้องต้นไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต


เดือนมิถุนายน สถานการณ์อุทกภัย มาจากอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น“ไหหม่า” (Haima) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศลาว ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย

ตาก น่าน พะเยา และจังหวัดสุโขทัย รวม 30 อำเภอ 134 ตำบล 898 หมู่บ้าน 37,147 ครัวเรือน 118,856 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 53,227 ไร่ ถนน 63 สาย ท่อระบายน้ำ

35 แห่ง ฝ่าย/ทำนบ 55 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 45 แห่ง บ่อปลา/บ่อกุ้ง 208 บ่อ ปศุศัตว์ 3,917 ตัว มีผู้เสียชีวิต 1 ราย (อ.แม่สอด จ.ตาก) มีผู้สูญหาย 1 ราย (อ.เวียงสา จ.น่าน)


เดือนกรกฎาคม พื้นที่ประสบภัยทั้งสิ้น 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ เชียงราย ตาก พิจิตร พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน น่าน พะเยา

และจังหวัดสุโขทัย รวม 46 อำเภอ 270 ตำบล 1,918 หมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ได้แก่ จังหวัดตาก (อ.แม่สอด 1 ราย)

และจังหวัดน่าน 2 ราย (อ.เวียงสา 1 ราย และ อ.ปัว 1 ราย)


เดือนสิงหาคม เกิดอุทกภัยและมีการประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน รวม 36 จังหวัด 281 อาเภอ 1,875 ตาบล 15,442 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,130,281 ครัวเรือน 3,871,098 คน มีผู้เสียชีวิต 54 ราย จากสถานการณ์สาคัญ 2 สถานการณ์ คือ สถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากพายุโซนร้อน “นกเต็น” (NOCK - TEN) และร่องมรสุมกาลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ซึ่งประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวม 30 จังหวัด 258 อาเภอ 1,766 ตาบล

14,856 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดแพร่ เชียงใหม่ สุโขทัย น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ นครพนม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี อุดรธานี หนองคาย มุกดาหาร บึงกาฬ สกลนคร เลย เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ นครนายก ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดชัยนาท ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,041,639 ครัวเรือน 3,578,168 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 42 หลัง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 13,460 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 2,239,198

ไร่ ถนน 6,004 สาย ท่อระบายน้ำ 1,028 แห่ง ฝาย 647 แห่ง ทำนบ 21 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 525 แห่ง บ่อปลา/บ่อกุ้ง 23,299 บ่อ ปศุสัตว์ 91,041 ตัว มีผู้เสียชีวิต 52 ราย ประกอบด้วย ที่ จ.อุดรธานี สกลนคร อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ จังหวัดละ 1 ราย ที่ จ.ตาก นครพนม ร้อยเอ็ด จังหวัดละ 2 ราย ที่ จ.เชียงใหม่ 3 ราย ที่ จ.ปราจีนบุรี 4 ราย ที่ จ.พิษณุโลก 5 ราย ที่ จ.สุโขทัย 6 ราย ที่ จ.แม่ฮ่องสอน 7 ราย ที่ จ.แพร่ พิจิตร จังหวัดละ 8 ราย อีกทั้งมีผู้สูญหาย 1 คน ที่ จ.แม่ฮ่องสอน สาเหตุจากดินโคลนถล่ม


เดือนกันยายน มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 23 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี อุบลราชธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และจังหวัด เชียงใหม่ รวม 150 อำเภอ

1,078 ตำบล 7,750 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 559,895 ครัวเรือน 1,841,385 คน และมีผู้เสียชีวิต 205 ราย สูญหาย 2 คน ที่ จ.แม่ฮ่องสอน 1 คน และที่ จ.อุตรดิตถ์ 1 คน จากสถานการณ์อุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม – 31 กันยายน 2554 จากอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเต็นและร่องมรสุมกำลังปานกลาง

ถึงค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทย รวมถึงเหตุการณ์น้ำล้นตลิ่ง มีบริเวณที่ได้รับผลกระทบและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวมทั้งสิ้น 58 จังหวัด ทั้งนี้ มีจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างฟื้นฟู 35 จังหวัด


เดือนตุลาคม ยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 26 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา

ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และจังหวัดกรุงเทพมหานคร รวม 147 อาเภอ 1,132 ตาบล 8,319 หมู่บ้าน 32 เขต โดยพื้นที่ประสบอุทกภัยและมีการประกาศเป็นพื้นที่

ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมจนถึงตุลาคม รวม 63 จังหวัด ทั้งนี้ มีจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างฟื้นฟู 37 จังหวัด มีผู้เสียชีวิต 384 ราย สูญหาย 2 คน ราษฎรเดือดร้อน 559,895 ครัวเรือน 1,841,385 คน


รายงาน ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ใน 2 พื้นที่ คือ ประเทศไทยตอนบน 15 จังหวัด และภาคใต้ 8 จังหวัด รวม 23 จังหวัด

- สรุปสถานการณ์อุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2554 จนถึง 30 พฤศจิกายน 2554 มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวมทั้งสิ้น 65 จังหวัด 684 อำเภอ 4,917 ตำบล 43,600 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี เลย อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ นครพนม อำนาจเจริญ มุกดาหาร สกลนคร ยโสธร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ระจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง สตูล สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 4,039,459 ครัวเรือน 13,425,869 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 2,329 หลัง

บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 96,833 หลัง พื้นที่ การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 11.20 ล้านไร่ ถนน 13,961 สาย ท่อระบายน้ำ 777 แห่ง ฝาย 982 แห่ง ทำนบ 142 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 724 แห่ง บ่อปลา/บ่อกุ้ง/หอย 231,919 ไร่ ปศุสัตว์ 13.41 ล้านตัว มีผู้เสียชีวิต 657 ราย (44 จังหวัด) สูญหาย 3 คน (จ.แม่ฮ่องสอน 2 ราย จ.อุตรดิตถ์ 1 ราย) ดังนี้ จังหวัดอุดรธานี สกลนคร ตราด อำนาจเจริญ ยโสธร จังหวัดละ 1 คน อ่างทอง 16 คน นครพนม ตาก พังงา ลำปาง นครนายก จังหวัดละ 2 คน สุโขทัย 18 คน ชลบุรี 3 คน ปราจีนบุรี 22 คน สระแก้ว ร้อยเอ็ด สุรินทร์ จังหวัดละ 4 คน ชัยนาท 23 คน อุทัยธานี มหาสารคาม จังหวัดละ 5 คน นครปฐม 2 คน ฉะเชิงเทรา เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ จังหวัดละ 6 คน พิษณุโลก 25 คน แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร นนทบุรี จังหวัดละ 7 คน สิงห์บุรี 31 คน แพร่ 8 คน สุพรรณบุรี 39 คน อุบลราชธานี 9 คน ลพบุรี 42 คน ขอนแก่น 10 คน พิจิตร 53 คน เชียงใหม่ 13 คน นครสวรรค์ 72 คน ปทุมธานี 14 คน อยุธยา 139 คน สระบุรี 15 คน

- ประเทศไทยตอนบนยังคมมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 15 จังหวัด 104 อำเภอ 773 ตำบล 4,898 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,800,043 ครัวเรือน 4,827,958 คน ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี

สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครนายก ฉะเชิงเทรา และกรุงเทพมหานคร จังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างฟื้นฟู จำนวน 50 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ลำพูน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย พิจิตร อุทัยธานี อุดรธานี ชัยภูมิ หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สุรินทร์ มหาสารคาม ขอนแก่น สกลนคร ระยอง ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง พังงา ภูเก็ต จันทบุรี สตูล ตรัง สุราษฎร์ธานี ตราด สระแก้ว ยโสธร อำนาจเจริญ เลย นครราชสีมา บุรีรัมย์ ราชบุรี กำแพงเพชร ตาก

- ภาคใต้มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 8 จังหวัด 61 อำเภอ 319 ตำบล 1,798 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 134,853 ครัวเรือน 437,312 คน ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ตรัง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส สงขลา ยะลา และจังหวัดปัตตานี พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 115,611 ไร่ วัด/มัสยิส 7 แห่ง โรงเรียน 26 แห่ง สถานที่ราชการ 10 แห่ง ถนน 736 สาย สะพาน 107 แห่ง ฝาย 19 แห่ง ปศุสัตว์ 5,551 ตัว ประมง 674 บ่อ เสียชีวิต 9 ราย (จ.พัทลุง 2 จ.สงขลา 2 จ.ยะลา 2 จ.นราธิวาส 3) สถานการณ์คลี่คลายเข้าสู่การฟื้นฟูแล้ว 2 จังหวัด คือ จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสุราษฎร์ธานี







ธนาคารโลกประเมินน้ำท่วมเสียหาย 1.356 ล้านล้านบาทและใช้เงินฟื้นฟูอีกกว่า 7 แสนล้าน
ที่มา : คัดลอกเนื้อหาบางส่วนมาจาก https://thaipublica.org/2011/12/world-bank-flood-damage/

ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ถือเป็นภัยพิบัติคร้ังรุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปีของประเทศไทย โดยสร้างความเสียหายและความเดือดร้อนต่อผู้ประสบภัยเป็นจํานวนมาก และยังส่งผลกระเทือนทําให้นักลงทุนท้ังในประเทศและต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการน้ําของไทย โดยตัวเลขความเสียหายที่ธนาคารโลกประเมินเบื้องต้นพบว่าเป็นจํานวนสูงถึง 1.356 ล้านล้านบาท สาเหตุที่ความเสียหายสูงมาก

เนื่องจากธนาคารโลกไม่ได้ประเมินเฉพาะความเสียหาย (Damage) จากสิ่งปลูกสร้างถูกทําลาย เช่น บ้านถล่ม ตึกพัง โรงงงานจมน้ำ โบราณสถานน้ำท่วม เท่าน้ัน แตยังประเมินความสญูเสีย (Loss) ด้วย ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่อง เช่น โรงงานปิดผลิตสินค้าไม่ได้ คนงานต้องหยุดงาน ทําให้ธุรกิจและแรงงานสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้หากน้ำไม่ท่วม เป็นต้น จากการประเมินความเสียหายดังกล่าวปรากฏว่าตัวเลขความ

สูญเสียอยู่ 716,761 ล้านบาท สูงกว่าความเสียหายซึ่งอยู่ที่ 640,049 ล้านบาท โดยภาคการเงินมีความสูญเสียมากที่สุด เนื่องจากน้ําท่วมทําให้ธนาคารพาณิชย์สูญเสียโอกาสในการปล่อยสินเชื่อ รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรมที่ต้องหยุดการผลิตช่วงน้ำท่วม และภาคการท่องเที่ยว ที่ต้องสูญเสียรายได้เพราะนักท่องเที่ยวลดลง (รายละเอียดดูจากตาราง)







ความเสียหายที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรม
ที่มา : คัดลอกเนื้อหาบางส่วนมาจากรายงาน "มหาอุทกภัย 2554 ผลกระทบและแนวโน้มการฟื้นตัว จากการสำรวจผู้ประกอบการ" โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย / กระทรวงอุตสาหกรรม / การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย