ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลัก
กรมชลประทาน / คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ



แม่น้ำเจ้าพระยา


สถานี C.2 ค่ายจิรประวัติ อ.เมือง จ.นครสวรรค์

ปี 2554 มีปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันสูงสุดสุด 4,686 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 13 ตุลาคม 2554 ซึ่งถือเป็นน้ำไหลผ่านที่มีปริมาณมาก แต่ก็ยังน้อยกว่าปี 2549 ที่มีปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันสูงสุดถึง 5,960 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่จะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำของปี 2554 ในแต่ละวันมี

ค่อนข้างมากกว่าปีอื่นอย่างเห็นได้ชัดมาตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม และเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเกิดน้ำล้นตลิ่งเร็วกว่า โดยเริ่มล้นตลิ่งตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน จนถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2554 รวมทั้งหมด 44 วัน มากที่สุดเมื่อเทียบกับปีอื่น ส่งผลทำให้ปริมาณน้ำโดยรวมทั้งปีมี

มากถึง 48,615 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าปี 2538 2545 2549 ที่เกิดอุทกภัยรุนแรงครั้งใหญ่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา แม้ว่าอัตราการไหลสูงสุดรายวันของปี 2554 จะไม่ได้มากที่สุดก็ตาม



สถานี C.13 ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท

ปี 2554 มีปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันสูงสุด 3,721 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2554 ถึงจะเป็นปริมาณน้ำที่มาก แต่ก็ยังคงน้อยกว่าปี 2538 และ 2549 อย่างไรก็ตามลักษณะการเพิ่มขึ้นของน้ำเป็น

ไปในทำนองเดียวกันกับที่ค่ายจิรประวัติ คือปริมาณน้ำมากกว่าปีอื่นค่อนข้างมากมาตั้งแต่ต้นปีและเพิ่มขึ้นค่อนข้างต่อเนื่อง รวมทั้งมีเหตุการณ์น้ำล้นตลิ่งเกิดขึ้นถึง 59 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน ถึงวันที่ 8

พฤศจิกายน 2554 ส่งผลทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านรวมทั้งปีสูงถึง 35,400 ซึ่งมากกว่าปี 2538 2545 2549 ที่เกิดอุทกภัยร้ายแรงครั้งใหญ่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา


สถานี C.36 คลองโผงเผง อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา

ปี 2554 ปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันที่สถานีนี้ค่อนข้างมากว่าปีอื่น ๆ มาตั้งแต่ต้นปี และเกิดน้ำล้นตลิ่งเป็นเวลายาวนานมากตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมถึงช่วงต้นเดือนธันวาคม

โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันสูงสุด 1,017 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2554 ซึ่งมากกว่าปี 2545 และ 2549 ที่เกิดอุทกภัยรุนแรงครั้งใหญ่ใน

ลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากการที่มีน้ำไหลผ่านค่อนข้างมามาตั้งแต่ต้นปี ทำให้ปริมาณน้ำรวมทั้งปีสูงถึง 10,772 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าปี 2545 และ 2549 อีกเช่นกัน


สถานี C.37 คลองบางบาล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา

ปี 2554 มีปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันมากกว่าปีอื่น ๆ มาตั้งแต่ช่วงต้นปี และเพิ่มขึ้นมากในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม และเกิดน้ำล้นตลิ่งตั้งแต่ช่วงเดือน

สิงหาคมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน ทำให้ปริมาณน้ำไหลผ่านทั้งปีสูงถึง 2,643 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าปี 2545 และ 2549 แต่ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดรายวัน

อยู่ที่ 278 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งน้อยกว่าปี 2545 และ 2549 อยู่เล็กน้อย


สถานี C.29 บางไทร อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา

ปี 2554 ปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม และล้นตลิ่งตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมไปจนถึงสิ้นปีระดับก็ยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ สภานีบางไทรเป็นจุดที่รับน้ำจากแม่น้ำหลายสาย

ที่ไหลลงมาจากภาคเหนือส่งผลทำให้เกิดน้ำไหลบ่าหลากเข้าท่วมจนไม่สามารถคำนวณปริมาณน้ำได้จากตัวเลขระดับน้ำ โดยเฉพาะช่วงวันที่ 26 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2554 เนื่องจากเกิดการล้นตลิ่งออกไป

เป็นบริเวณกว้างมาก โดยมวลน้ำบริเวณดังกล่าวมากกว่าปี 2538 2545 และ 2549 อยู่ค่อนข้างมาก


แม่น้ำปิง

แม่น้ำปิงบริเวณสถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ เป็นบริเวณท้ายแม่น้ำปิงก่อนจะบรรจบกับแม่น้ำน่าน ก่อนจะรวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ

นี้มีน้ำค่อนข้างมากมาตั้งแต่ช่วงต้นปี เช่นเดียวกันสถานีตรวจวัดน้ำอื่น ๆ โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคม กันยายนและตุลาคม ที่ปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างมากอย่างเห็น

ได้ชัด ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมทั้งปีสูงถึง 15,586 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับปี 2538 3545 และ 2549 ที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเกิดอุทกภัยรุนแรง



แม่น้ำวัง

แม่น้ำวังที่สะพานเสตุวารีในตัวเมืองลำปาง มีปริมาณน้ำค่อนข้างมากอย่างเห็นได้ชัดในเดือนพฤษภาคม และมีน้ำมากที่สุดในเดือนสิงหาคม ปริมาณน้ำรวมทั้งปี 1,449 ล้าน

ลูกบาศก์เมตร มากกว่าปี 2538 และ 2549 ส่วนบริเวณท้ายน้ำก่อนบรรจบกับแม่น้ำปิง ที่สถานี W.4A บ้านวังหมัน อ.สามเงา จ.ตาก ตรวจวัดน้ำได้ค่อนข้างมากในเดือน

พฤษภาคม และมีปริมาณน้ำสูงสุดในเดือนสิงหาคม ปริมาณน้ำรวมทั้งปี 4,156 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าปี 2538 2545 และ 2549




แม่น้ำยม

ปี 2554 แม่น้ำยมบริเวณเมืองสุโขทัยมีปริมาณน้ำมากกว่าปี 2538 และ 2549 เกือบทุกเดือน โดยมีน้ำมากที่สุดในเดือนสิงหาคม ปริมาณน้ำรวมทั้งปี 6,335 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าปี 2538 และ

2549 ค่อนข้างมาก ส่วนบริเวณท้ายแม่น้ำยมที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ปริมาณน้ำมากกว่าปีอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่เดือนมีนาคม และเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากอย่างต่อเนื่องเกือบทุกเดือนไปจนถึงเดือนตุลาคม

ปริมาณน้ำรวมทั้งปีสูงถึง 12,375 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าปี 2538 2545 และ 2549 อยู่ค่อนข้างมาก




แม่น้ำน่าน

ตอนล่างของแม่น้ำน่าน ก่อนบรรจบกับแม่น้ำปิง สถานีตรวจวัดระดับน้ำบริเวณบ้านเกยไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณ

น้ำของปี 2554 ค่อนข้างมากกว่าปีอื่น ๆมาตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคมและเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมไปจนถึงเดือน

ตุลาคมปริมาณน้ำรวมทั้งปีสูงถึง 21,540 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าปี 2545 และ 2549



แม่น้ำแควน้อย

จากการตรวจวัดปริมาณน้ำบริเวณบ้านท่างาม อ.วัดโบถส์ จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นบริเวณปลายน้ำของแม่น้ำแควน้อยก่อนบรรจบกับ

แม่น้ำน่าน ในปี 2554 บริเวณนี้มีน้ำมากในช่วงต้นปี และเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน ปริมาณน้ำรวมทั้งปี

3,041 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2549 เล็กน้อย แต่มากกว่าปี 2538 และ 2545





แม่น้ำป่าสัก

ในปี 2554 ต้นน้ำแม่น้ำป่าสักบริเวณเมืองเพชรบูรณ์มีน้ำค่อนข้างมากในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ปริมาณน้ำรวมทั้งปี 674 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปี 2538

แต่มากกว่าปี 2549 ส่วนท้ายแม่น้ำป่าสักบริเวณเขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำมากกว่าปี 2538 มาตั้งแต่ต้นปี และเพิ่มขึ้นมากใน

เดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำรวมทั้งปี 5,971 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2538




แม่น้ำมูล

ปี 2554 บริเวณต้นแม่น้ำมูลที่สถานี M.2A ด่านตะกะ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำมากกว่าปี 2545 และ 2549 มาตั้งแต่ต้นปี และเพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัดในเดือนสิงหาคม กันยายนและตุลาคม ปริมาณน้ำรวมทั้งปี 998 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าปี 2545

และ 2549 ค่อนข้างมาก ส่วนบริเวณท้ายน้ำ ที่สถานี M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นจุดตรวจวัดหลังจากน้ำในแม่น้ำชีไหลลงมารวมกันน้ำของแม่น้ำมูล ซึ่งในปี 2554 ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นมากในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม แต่น้อยกว่าปี 2545 แต่เมื่อเข้าสู่

เดือนพฤศจิกายน ปริมาณน้ำของปี 2545 ลดลงอย่างรวดเร็วมาก ต่างจากปี 2554 ที่ยังคงมีน้ำมาก ก่อนที่จะลดลงในเดือนธันวาคม ทั้งนี้ปริมาณน้ำรวมทั้งปี 2554 อยู่ที่ 36,728 ล้านลูกบาศก์เมตร มากที่สุดเมื่อเทียบกับปี 2538 2545 และ 2549




แม่น้ำชี

ในปี 2554 บริเวณต้นแม่น้ำชีที่สถานี E.23 บ้านค่าย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ปริมาณน้ำค่อนข้างมากในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม โดยมีปริมาณน้ำรวมทั้งปี 2,277 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าปี 2538 2545

และ 2549 อยู่ค่อนข้างมาก สำหรับบริเวณท้ายแม่น้ำชี ก่อนลงไปรวมกับแม่น้ำมูล ที่สถานี E.20A บ้านฟ้าหยาด อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร มีน้ำค่อนข้างมากตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณน้ำ

รวมทั้งปีมากถึง 17,747 ล้านลูกบาศ์เมตร มากกว่าปี 2545 อยู่เล็กน้อย แต่มากกว่าปี 2538 และ 2549 ค่อนข้างมากเป็นเท่าตัว