คลังภาพและวีดีโอ


การสำรวจทางอากาศด้วยเครื่องบินไร้คนขับ
ที่มา : Institute of Field Robotics

29 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองบัวและคลองสามขา แถวถนนรามอินทรา โดยขึ้นบินที่กองพลทหารราบที่ 11 แล้วบินไปทางทิศใต้ไปยังคลองบัว แล้วจึงบินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในแนวคลองบัว ข้ามถนนรามอินทรา ไปยังคลองสามขา ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2554 เป็นระยะทางรวม 22 กิโลเมตร
[GPS Waypoints] [VDO]
29 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองลำไผ่แถวถนนรามอินทรา โดยเริ่มจากจุดที่สนใจบนคลองลำไผ่ บินเหนือคลองลำไผ่ประมาณ 2 นาที ก็จะถึงคลองบัวคลองสามขา แล้วจึงบินเหนือถนนรามอินทราไปถึงวงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ แล้วจึงบินวนรอบกองพลทหารที่ 11 [ราบ 11] ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2554 เป็นระยะทางรวม 22 กิโลเมตร
[GPS Waypoints] [VDO]
27 พฤศจิกายน 2554
การสำรวจคลองอ้อมน้อย แถวอ้อมน้อย เริ่มจากจุดที่คลองอ้อมน้อยไหลลงแม่น้ำท่าจีน โดยบินทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนคลองอ้อมน้อยไปยังถนนเพชรเกษม แล้วจึงบินลงใต้บนคลองแนวลิขิตไปยังคลองภาษีเจริญ แล้วบินไปทางทิศตะวันออกบนคลองภาษีเจริญไปยังจุดต่อกับคลองอ้อมแขม ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2554 เป็นระยะทางรวม 25 กิโลเมตร
[GPS Waypoints] [VDO]
27 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองอ้อมแขม แถวอ้อมน้อย เริ่มจากจุดที่คลองอ้อมแขมไหลลงคลองภาษีเจริญ ขึ้นไปทางเหนือผ่านอ้อมน้อยไปจนถึงถนนเพชรเกษม ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2554 เป็นระยะทางรวม 25 กิโลเมตร
[GPS Waypoints] [VDO]

25 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจถนนพุทธมณฑล สาย 4 โดยจะขึ้นบินหน้าพุทธมณฑล [องค์พระ] แล้วบินลงใต้ตามแนวถนนพุทธมณฑล สาย 4 ไปถึงถนนเพชรเกษมแล้วมุ่งหน้าทางทิศตะวันตกไปยังจุดตัดถนนเพชรเกษมและพุทธ มณฑล สาย 5 ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร โดยจะเห็นถนนอุทธยาน [นาทีที่
1:00] จุดตัดถนนเพชรเกษมกับพุทธมณฑลสาย 4 [นาทีที่ 7:30][ GPS Waypoints]
25 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจถนนพุทธมณฑล สาย 5 ตอนแรก ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 โดยในวีดีโอนี้จะเริ่มจากจุดตัดระหว่างถนนเพชรเกษมและถนนพุทธมณฑล สาย 5 และจะิบินไปทางเหนือ โดยจะไปถึงจุดตัดถนนบรมราชชนนีในคลิปที่สอง [ระยะทางรวม 25 กิโลเมตร]
[GPS Waypoints] [VDO]
25 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจถนนพุทธมณฑล สาย 5 ตอนที่ 2 ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 โดยในวีดีโอนี้จะต่อจากคลิปแรกไปทางเหนือถึงจุดตัดระหว่างถนนบรมราชชนนี [นาทีที่ 3:00] แล้วบินไปทางทิศตะวันออกไปยังพุทธมณฑล สาย 4 [นาทีที่ 7:00] จะเห็นมหาวิทยาลัยมหิดล [นาทีที่ 5:15] และสุดปลายคลิปที่พุทธมณฑล [ระยะทางรวม 25 กิโลเมตร] [GPS Waypoints] [VDO]
24 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองอ้อมนนท์ ช่วงเหนือจากถนนนครอินทร์ไปแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะบินไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือแล้วจึงเบี่ยงไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยในคลิปนี้จะไปหยุดตรงกลางแล้ว ควรไปดูคลิปที่ 2 จนถึงจุดลงแม่น้ำเจ้าพระยา
[GPS Waypoints] [VDO]

24 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองอ้อมนนท์ ช่วงเหนือจากถนนนครอินทร์ไปแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะบินไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือแล้วจึงเบี่ยงไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยในคลิปนี้จะต่อจากคลิปที่ 1 โดยจะบินต่อจนถึงจุดลงแม่น้ำเจ้าพระยา
[GPS Waypoints] [VDO]
24 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองอ้อมนนท์ ช่วงจากถนนนครอินทร์ไปจุดต่อกับคลองบางกอกน้อย โดยจะบินไปยังทิศตะวันออกแล้วจึงเบี่ยงไปทิศใต้ ไปยังคลองบางกอกน้อยแล้วบินกลับมายังคลองอ้อมนนท์ โดยในคลิปนี้จะไปหยุดตรงจุดลงแม่น้ำเจ้าพระยา
[GPS Waypoints] [VDO]
16 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองแสนแสบ ช่วงระหว่าง ซ.รามคำแหง 127 บินไปทางทิศตะวันออก ไปนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 โดยจะบินถึงนิคมอุตสาหกรรมบางชัน แล้วบินรอบนิคมก่อนจะจบคลิป
[GPS Waypoints] [VDO]
16 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองแสนแสบ ช่วงระหว่าง ซ.รามคำแหง 127 ไปในทิศตะวันตก ไปยังอุโมงค์ยักษ์ ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554
[GPS Waypoints] [VDO]

15 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองราชมนตรีช่วงถนนพระราม 2 ถึงคลองสนามชัย ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 โดยบินขึ้นที่การทางบางขุนเทียน เป็นระยะทาง 3.8 กิโลเมตร จากระดับความสูง 200 เมตร คลองราชมนตรีเป็นคลองเหนือใต้ที่ใช้ในการระบายน้ำจากถนนพระราม 2 ลงอ่าวไทย
[GPS Waypoints]
15 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองสนามชัย มหาชัย ช่วงตัดกับคลองพระยาราชมนตรี ไปทางตะวันออกแล้วขึ้นเหนือ ไปถึงวัดสิงห์และจุดตัดกับคลองบางบอน ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 จากระดับความสูง 200 เมตร
[GPS Waypoints]
15 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองบางบอนตั้งแต่จุดตัดคลองสนามชัยไปทางทิศตะวันตกจนถึง คลองราชมนตรี แล้วจะบินลงใต้ไปยังถนนพระราม 2 ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 ระดับความสูง 200 เมตร คลองราชมนตรีเป็นคลองเหนือใต้ที่ใช้ในการระบายน้ำจากถนนพระราม 2 ลงอ่าวไทย
[GPS Waypoints]
15 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองระหานตั้งแต่จุดตัดกับคลองสนามชัย โดยจะบินไปทางทิศเหนือจนถึงคลองบางบอน แล้วจะบินไปทางทิศตะวันออกมุ่งหน้าไปคลองเลนเปน ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 ระดับความสูง 200 เมตร คลองระหานเป็นคลองเหนือใต้ที่จะใช้ในการระบายน้ำลงอ่าวไทย
[GPS Waypoints]

15 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองเลนเปนตั้งแต่จุดตัดกับคลองบางบอน ลงทางทิศใต้จนถึง คลองสนามชัย โดยตรงท้ายของคลิปจะเป็นช่วงที่ทำการบินขึ้นจนถึงคลองสนามชัย ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 ระดับความสูง 200 เมตร คลองเลนเปนเป็นคลองเหนือใต้ที่จะใช้ในการระบายน้ำลงอ่าวไทย
[GPS Waypoints]
14 พฤศจิกายน 2554 คลองสะแกงาม [บริเวณถนนพระราม 2] บินขึ้นข้างคลองช่วงกลาง [จุดสีเหลืองในรูปแนบ] ช่วงที่เห็นคลองในวิดีโอคือช่วงที่บินขึ้นไปทางเหนือช่วง 2:00 - 2:20 และ 4:20 - 4:40
[GPS Waypoints]
13 พฤศจิกายน 2554 คลองขุนราชพินิจใจ [ช่วงไหลลงอ่าวไทย] บินขึ้นจากถนนข้างประตูระบายน้ำคลองขุนราชพินิจใจ [พิกัด 13?34'17.59"N 100?26'45.72"E] บินตามแนวคลองไปทางด้านอ่าวไทยเป็นระยะทาง 500 เมตร และวนย้อนกลับ 2 รอบ จะเห็นแนวคลองในวิดีโอช่วงเวลา 1:23 - 4:15
13 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองสนามชัย มหาชัย ช่วงตัดกับคลองบางน้ำจืด ไปทางตะวันตก ไปถึงจุดไหลลงแม่น้ำท่าจีน ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2554 เป็นระยะทาง 22 กิโลเมตร จากระดับความสูง 200 เมตร คลองสนามชัยเป็นคลองแนวตะวันออกมาตะวันตกบรรจบลงแม่น้ำท่าจีน
[GPS Waypoints]

12 พฤศจิกายน 2554 คลองขุนราชพินิจใจ [ช่วงกลาง] บินขึ้นจากจุดวงกลมในรูป [พิกัด 13?34'57.58"N 100?27'1.66"E] ช่วงที่เห็นแนวคลองคือช่วงเวลา 3:12 - 3:32 และ 4:29 - 4:48
[GPS Waypoints]
12 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองสนามชัย มหาชัย ช่วงตัดกับคลองบางน้ำจืด ไปทางตะวันออกถึงจุดตัดกับคลองราชมนตรีและคลองขุนราชพินิจใจ ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2554 เป็นระยะทาง 20 กิโลเมตร จากระดับความสูง 200 เมตร คลองสนามชัยเป็นคลองแนวตะวันออกมาตะวันตกบรรจบลงแม่น้ำท่าจีน
[GPS Waypoints]
11 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองราชมนตรีช่วงถนนพระราม 2 ถึงคลองสนามชัย ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 โดยบินขึ้นที่การทางบางขุนเทียน เป็นระยะทาง 7.7 กิโลเมตร จากระดับความสูง 200 เมตร คลองราชมนตรีเป็นคลองเหนือใต้ที่ใช้ในการระบายน้ำจากถนนพระราม 2 ลงอ่าวไทย
[GPS Waypoints]
11 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองราชมนตรีช่วงถนนพระราม 2 ขึ้นเหนือไปถึงคลองภาษีเจริญ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 โดยบินขึ้นที่การทางบางขุนเทียน เป็นระยะทาง 12 กิโลเมตร จากระดับความสูง 200 เมตร คลองราชมนตรีเป็นคลองเหนือใต้ที่ใช้ในการระบายน้ำจากถนนพระราม 2 ลงอ่าวไทย
[GPS Waypoints]
10 พฤศจิกายน 2554 คลองขุนราชพินิจใจ บินขึ้นจากจุดตัดของคลองราชมนตรี คลองสนามชัย และคลองขุนราชพินิจใจ
9 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจบิ๊กแบ๊กเหนือสนามบินดอนเมือง ช่วงเหนือของสนามบินไปทางตะวันตกเฉียงเหนือไปยังหลักหก ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 โดยจะบินจากทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์ไปทางทิศตะวันตกมุ่งหน้าหลักหก เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร จากระดับความสูง 200 เมตร
[GPS Waypoints]
8 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจบิ๊กแบ๊กเหนือสนามบินดอนเมือง ช่วงเหนือของสนามบิน ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 โดยจะบินถึงกองบัญชาการกองทัพอากาศและถนนพหลโยธิน ตลอดแนวบิ๊กแบ๊กทางตะวันออกของทางด่วนโทลเวย์
[GPS Waypoints]
8 พฤศจิกายน 2554 คลองเจ็ดริ้ว บินจากบริเวณปลายด้านใต้ แล้ววนขึ้นไปทางเหนือ ช่วงเวลา 2:45 - 3:08, 4:00 - 4:27, 4:36 - 4:56 จะเห็นคลองด้านเหนือ และช่วงเวลา 4:36 - 4:56 จะเห็นคลองด้านใต้

4 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองประปา ช่วงจุดตัดคลองรังสิต ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 โดยไฟล์ทนี้จะทำการบินวนเหนือคลองรังสิต แล้วจึงบินเหนือคลองประปาเป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร โดยจะบินจากทิศทางเหนือใต้ อากาศยานไร้นักบินบินสูง 200 เมตร จากระดับทางด่วนขั้นที่ 2
[GPS Waypoints]
2 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองสี่วาพาสวัสดิ์ ช่วงคลองมหาชัยถึงถนนพระราม 2 ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 โดยไฟล์ทนี้จะบินจากจุดขึ้นไปทางเหนือถึงถนนพระราม 2
[GPS Waypoints]
2 พฤศจิกายน 2554 การสำรวจคลองสี่วาพาสวัสดิ์ ช่วงคลองมหาชัยถึงถนนพระราม 2 ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 โดยไฟล์ทนี้จะบินจากจุดขึ้นไปทางใต้ถึงคลองมหาชัย
[GPS Waypoints]
2 พฤศจิกายน 2554 การบินตรวจสอบคลองบางน้ำจืด ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 โดยจะบินจากจุดที่คลองบางน้ำจืดไหลลงคลองมหาชัย ไปยังถนนพระราม 2
[GPS Waypoints]

31 ตุลาคม 2554 บินสำรวจบริเวณจุดใกล้เคียงคลองสามบาท ในรัศมี 1 กิโลเมตร [ใกล้ตลาดดอนหวาย จ.นครปฐม]
[GPS Waypoints]
28 ตุลาคม 2554 วีดีโอที่บินสำรวจคลองหกวา วันที่ 28 ตุลาคม 2554 เพื่อสำรวจการไหลของน้ำ โดยขึ้นบินจากถนนกาญจนาภิเษก และบินบนคลองหกวา ไปทางทิศตะวันตก เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร จากระดับความสูง 200 เมตร
[GPS Wayspoints]
27 ตุลาคม 2554 การบินสำรวจประตูน้ำทวีวัฒนาที่จุดตัดระหว่างคลองมหาสวัสดิ์และคลองทวีวัฒนา โดยเครื่องขึ้นจากข้างคลองทวีวัฒนา แล้วมุ่งหน้าทางทิศตะวันออกเืพื่อที่จะบินเหนือคลองมหาสวัสดิ์ โดยจะเห็นจุดตัดทั้งสองคลอง แล้วจึงบ่ายลงใต้เพื่อดูประตูน้ำทวีวัฒนา จะเห็นทางรถไฟก่อน แล้วจึงเห็นประตูน้ำทวีวัฒนา ในวันที่ 27 ตุลาคม 2554
[GPS Wayspoints]
27 ตุลาคม 2554 การบินตรวจการไหลของน้ำที่จุดที่คลองมหาสวัสดิ์ไหลลงแม่น้ำท่าจีน โดยขึ้นบินจากข้างคลองมหาสวัสดิ์ แล้วมุ่งหน้าทิศตะวันตก เพื่อบินเหนือคลองมหาสวัสดิ์ มุ่งหน้าไปแม่น้ำท่าจีน โดยประตูน้ำมหาสวัสดิ์ [ลักษณะเหมือนเกาะกลางแม่น้ำ] แล้วจะเห็นจุดที่คลองมหาสวัสดิ์บรรจบกับแม่น้ำท่าจีน ในวันที่ 27 ตุลาคม 2554
[GPS Waypoints]

26 ตุลาคม 2554 การบินตรวจสอบการระบายน้ำที่ประตูระบายน้ำฉิมพลี บนคลองมหาสวัสดิ์ ในวันที่ 26 ตุลาคม 2554 โดยจะบินจากถนนพุทธมณฑลสาย 2 แล้วบินไปทางทิศตะวันออกเพื่อวนเหนือ ปตร ฉิมพลี ไปทางทิศตะวันตก
[GPS waypoints] [VDO]



ข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่
ที่มา : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ

พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

1. คลองระพีพัฒน์ มีการสูบน้ำจากคลองสาขา และพื้นที่เรือกสวนไร่นา ระบายลงคลองระพีพัฒน์


2. คลองลำปะทิวและคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต บริเวณใต้สะพานรถไฟสายตะวันออก ช่องเปิดให้น้ำไหลผ่านแคบกว่าความกว้างลำน้ำมาก และช่องด้านข้างทั้งสองฝั่ง มีตะกอนดินและสวะสะสม ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการะบายน้ำผ่านบริเวณนี้


3.สถานีสูบน้ำริมชายทะเล ทุกสถานีทำงานอย่างไม่เต็มศักยภาพ เนื่องจากปริมาณไหลลงมาไม่เพียงพอต่อความสามารถในการสูบ และบ่อสูบมีขนาดเล็กเกินไป


4. คลองบางซื่อ มีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำ [บ่อบำบัดน้ำเสีย] และมีบ้านเรือนรุกล้ำลำน้ำอีกจำนวนมาก


5. คลองบางตลาด คลองมีขนาดเล็กและตื้นเขิน ไม่สมดุลกับสถานีสูบน้ำ ที่สูบออกทางฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ถึง 4 เครื่อง


6. คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต บริเวณลำน้ำฃ่วงลอดใต้ถนนบางนาตราด ใต้สะพานมีตะกอนดินและสวะ สะสมจำนวนมาก บริเวณลำคลองฃ่วงตั้งแต่ถนนบางนาตราดจนถึงถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง มีบ้านเรีอนรุกล้ำลำน้ำจำนวนมาก


7. คลองบ้านใหม่ ช่วงที่เกิดอุทกภัย ชาวบ้านน้ำแผ่นเหล็กมาปิดกั้นการระบายน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำเข้าท่วมพื้นที่ ส่วนสภาพคลองตื้นเขินและมีสวะจำนวนมาก


8. คลองสอง-บางบัว-ลาดพร้าว มีบ้านเรือนรุกล้ำลำน้ำจำนวนมาก เกือบตลอดทั้งแนวคลอง ช่องสะพานเหลือเพียงช่องกลางเท่านั้นที่สามารถระบายน้ำได้ เพราะการรุกล้ำลำน้ำ นอกจากนี้ยังมีตะกอนดินที่ปิดทับถมจนไม่สามารถระบายน้ำได้ อีกทั้งกลางคลองยังมีประตูน้ำที่มีช่องระบายเพียง 4-5 เมตร และประตูน้ำก็ไม่ได้ใช้งานมานานแล้ว





พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

1. คลองพระยาบรรลือ น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณประตูระบายน้ำพระศรีสิงห์ มีระดับสูงกว่าประตูทำให้น้ำไหลข้ามประตูจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่คลองพระยาบันลือ นอกจากนี้ตลอดแนวคลองมีการเสริมคันดินสูงมากกว่า 1 เมตร


2. คลองภาษีเจริญ ความลึกของคลองโดยเฉลี่ย 2-2.50 เมตร บริเวณคลองภาษีเจริญตัดกับคลองทวีวัฒนาตื้นเขิน ลึกน้อยกว่า 2 เมตร ช่วงต้นคลองฝั่งกรุงเทพมหานคร มีสิ่งกีดขวางโดยเฉพาะโป๊ะเทียบเรือ


3. คลองลัดงิ้วราย คลองลัดท่าข้าม คลองลัดทั้งสองไม่ได้รับการดูแล มีสวะมากและคลองมีลักษณะแคบช่วงลอดผ่านถนน


4. คลองมหาสวัสดิ์ บริเวณประตูระบายน้ำฉิมพลีไม่ได้รับการดูแล มีสวะมาก และคลองประปาไม่ได้รับการป้องกัน


5. คลองสี่วาพาสวัสดิ์ มีสิ่งกีดขวางตลอดแนวคลอง เช่น สะพานข้ามสำหรับคนเดิน


6. คลองสี่วาตากล่อม-คลองบางน้ำจืด ช่วงต้นคลองสี่วาตากล่อมซึ่งรับจากคลองภาษีเจริญ มีการบุกรุกคลองกีดขวางทางน้ำ บริเวณคลองลอดใต้ถนนเอกชัยและพระราม 2 ถูกบีบให้แคบ นอกจากนี้ยังมีทางรถไฟขวางทางน้ำอยู่


7. คลองแสมดำ คลองหลวง สภาพคลองไม่ได้รับการดูแล โดยเฉพาะคลองหลวง น้ำเน่า มีกลิ่นเหม็น