พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมวิเคราะห์จากภาพถ่ายดาวเทียม
ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)/สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

จากการวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมโดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม พบว่าในปี 2554 ประเทศไทยมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 31.45 ล้านไร่ กระจายตัวอยู่ในทุกภาคของประเทศ โดยมี 72 จังหวัด 763 อำเภอ 5,296 ตำบล ที่เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ รายละเอียดดังนี้

1) ภาคเหนือ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 7.29 ล้านไร่ รวม 15 จังหวัด 157 อำเภอ 1,130 ตำบล ได้แก่ จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย เชียงราย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พะเยา ลำปาง เชียงใหม่ แพร่ ตาก น่าน ลำพูน แม่ฮ่องสอน โดยจังหวัดพิจิตร มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 1.44 ล้านไร่ รองลงมาคือจังหวัดพิษณุโลกและกำแพงเพชร ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 1.26 และ 0.99 ล้านไร่

2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 6.90 ล้านไร่ รวม 20 จังหวัด 276 อำเภอ 1,875 ตำบล ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด นครพนม นครราชสีมา อุดรธานี สกลนคร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ

บึงกาฬ ยโสธร ขอนแก่น ชัยภูมิ สุรินทร์ หนองคาย มหาสารคาม กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ มุกดาหาร หนองบัวลำภู เลย โดยจังหวัดร้อยเอ็ดมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุดประมาณ 920,970 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดนครพนมและนครราชสีมา ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 599,197 และ 551,926 ไร่ ตามลำดับ

3) ภาคกลาง มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 11.29 ล้านไร่ รวม 18 จังหวัด 183 อำเภอ 1,408 ตำบล ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม ชัยนาท กรุงเทพมหานคร ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี นนทบุรี อุทัยธานี สมุทรปราการ ราชบุรี กาญจนบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม โดยจังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 1.99 ล้านไร่ รองลงมาคือจังหวัดสุพรรณบุรีและพระนครศรีอยุธยา ที่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 1.54 และ 1.50 ล้านไร่ ตามลำดับ

4) ภาคตะวันออก มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 2.55 ล้านไร่ รวม 6 จังหวัด 35

อำเภอ 258 ตำบล ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี สระแก้ว ระยอง โดยจังหวัดฉะเชิงเทรามีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 1.09 ล้านไร่ รองลงมาคือจังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 637,022 และ 604,236 ไร่

5) ภาคใต้ มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 3.42 ล้านไร่ รวม 13 จังหวัด 112 อำเภอ 625 ตำบล ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ตรัง เพชรบุรี ปัตตานี ชุมพร สตูล กระบี่ นราธิวาส พังงา ยะลา โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 1.75 ล้านไร่ รองลงมาคือจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพัทลุง ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 671,274 และ 489,157 ไร่ ตามลำดับ

หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของปี 2554 กับปีอื่น ๆ ในอดีตย้อนหลังตั้งแต่ปี 2548 – 2553) จะเห็นได้ว่า ปี 2554 มีน้ำท่วมมากที่สุด รองลงมาคือปี 2553 และปี 2549

หมายเหตุ : ข้อมูลตัวเลขพื้นที่น้ำท่วมเป็นการประมาณการจากภาพถ่ายดาวเทียมที่ถ่ายภาพไว้ได้ในช่วงที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมซึ่งประมาณการโดยสำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)

กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมรายปี ตั้งแต่ปี 2548-2554

เมื่อแจกแจงข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมเป็นรายเดือนจะเห็นได้ว่าในปี 2554 ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่น้ำท่วมเกือบทุกเดือน มีเพียงเดือน

กุมภาพันธ์เพียงเดือนเดียวที่ตรวจไม่พบพื้นที่น้ำท่วม โดยเดือนตุลาคมมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด ประมาณ 18.49 ล้านไร่

รองลงมาคือเดือนพฤศจิกายน 16.67 ล้านไร่ และเดือนกันยายน 15.38 ล้านไร่ รายละเอียดดังกราฟด้านล่าง

กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมรายเดือนของปี 2554


เดือนมกราคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 77,104 ไร่ ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพัทลุง นครศรีธรรม ปัตตานี สงขลา รวม 14 อำเภอ 60 ตำบล โดย

จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 34,503 ไร่ หากเทียบพื้นที่ถูกน้ำท่วมของเดือนมกราคม 2554 กับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2553 จะเห็นได้ว่า

ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่น้ำท่วมในเดือนมกราคมเพียงแค่ 2 ปี คือ ปี 2550 และ 2554 ซึ่งพื้นที่น้ำท่วมของปี 2554 น้อยกว่าปี 2550 ค่อนข้างมาก

เดือนมกราคม

กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนมกราคม



เดือนกุมภาพันธ์ ในปี 2554 ดาวเทียมตรวจไม่พบพื้นที่ถูกน้ำท่วมในเดือนนี้


เดือนมีนาคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วมรวมทั้งสิ้น 1.23 ล้านไร่ ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง สงขลา ชุมพร

พังงา รวม 64 อำเภอ 348 ตำบล โดยจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 730,003 ไร่ และจากข้อมูลใน

อดีตตั้งแต่ปี 2548-2553 จะเห็นได้ว่าดาวเทียมตรวจพบน้ำท่วมในปี 2554 เพียงปีเดียวเท่านั้น


เดือนมีนาคม

กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนมีนาคม



เดือนเมษายน ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 3.20 ล้านไร่ ในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ตรัง

เชียงใหม่ ชุมพร แม่ฮ่องสอน ตาก กระบี่ ลำพูน สตูล พังงา ลำปาง รวม 109 อำเภอ 564 ตำบล โดยจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 1.71 ล้านไร่ และ

จากข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2553 จะเห็นได้ว่าดาวเทียมตรวจพบน้ำท่วมในปี 2554 เพียงปีเดียวเท่านั้น


เดือนเมษายน

กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนเมษายน



เดือนพฤษภาคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 76,635 ไร่ ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา เชียงราย ตาก ลำปาง

รวม 12 อำเภอ 44 ตำบล โดยจังหวัดพะเยามีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 53,497 ไร่ และจากข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-

2553 จะเห็นได้ว่าดาวเทียมตรวจพบน้ำท่วมในปี 2549 2550 และ 2554 ซึ่งในปี 2554 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมน้อยที่สุด


เดือนพฤษภาคม

กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนพฤษภาคม



เดือนมิถุนายน ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 461,925 ไร่ ในพื้นที่ 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ ลำปาง พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยนาท น่าน เชียงใหม่ ตาก ลำพูน เลย

เชียงราย พิจิตร แม่ฮ่องสอน แพร่ รวม 94 อำเภอ 552 ตำบล โดยจังหวัดสุโขทัยมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 135,022 ไร่ และจากข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2553 จะเห็นได้ว่าดาวเทียมตรวจพบน้ำท่วมในปี

2549 2550 2551 และ 2554 ซึ่งในปี 2554 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมน้อยกว่าปี 2549 ที่เกิดอุทกภัยรุนแรง อยู่ค่อนข้างมาก


เดือนมิถุนายน

กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนมิถุนายน



เดือนกรกฎาคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 884,824 ไร่ ในพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา สุโขทัย ลำปาง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก น่าน แพร่

แม่ฮ่องสอน ลำพูน เชียงใหม่ รวม 74 อำเภอ 478 ตำบล โดยจังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 271,468 ไร่ และจากข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2553 จะ

เห็นได้ว่าดาวเทียมตรวจพบน้ำท่วมเกือบทุกปี ยกเว้นปี 2550 โดยในปี 2554 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างน้อยหากเทียบกับปีอื่น ๆ


เดือนกรกฎาคม

กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนกรกฎาคม



เดือนสิงหาคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 5.73 ล้านไร่ ในพื้นที่ 36 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย พิจิตร นครพนม พิษณุโลก สกลนคร อุดรธานี เชียงราย บึงกาฬ นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ หนองคาย ร้อยเอ็ด ลำปาง เชียงใหม่ ยโสธร พะเยา

กาฬสินธุ์ มุกดาหาร เพชรบูรณ์ อำนาจเจริญ แพร่ อุบลราชธานี ลำพูน ตาก ปราจีนบุรี น่าน สุพรรณบุรี หนองบัวลำภู ชัยนาท ลพบุรี แม่ฮ่องสอน สิงห์บุรี สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม กำแพงเพชร

รวม 296 อำเภอ 1,860 ตำบล โดยจังหวัดสุโขทัยมีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 504,105 ไร่ และหากเทียบกับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2553 จะเห็นได้ว่าปี 2554 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด


เดือนสิงหาคม

กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนสิงหาคม



เดือนกันยายน ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 15.38 ล้านไร่ ในพื้นที่ 59 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก พระนครศรีอยุธยา สุโขทัย ร้อยเอ็ด สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา กำแพงเพชร นครนายก ปราจีนบุรี นครพนม ลพบุรี อุบลราชธานี ชัยนาท เพชรบูรณ์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ ชัยภูมิ สกลนคร

ยโสธร อ่างทอง หนองคาย นครปฐม อุตรดิตถ์ อุดรธานี บึงกาฬ สิงห์บุรี ปทุมธานี อุทัยธานี สระบุรี ขอนแก่น สุรินทร์ ชลบุรี มหาสารคาม กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ ราชบุรี กรุงเทพมหานคร เชียงราย บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ สมุทรปราการ เพชรบุรี พัทลุง นนทบุรี พะเยา ตาก หนองบัวลำภู สุราษฎร์ธานี

สระแก้ว ตรัง ระยอง สงขลา นครศรีธรรมราช สมุทรสงคราม ลำปาง เชียงใหม่ สมุทรสาคร รวม 516 อำเภอ 3,573 ตำบล โดยจังหวัดนครสวรรค์มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 1.50 ล้านไร่ และหากเทียบกับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2553 จะเห็นได้ว่าปี 2554 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด


เดือนกันยายน

กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนกันยายน



เดือนตุลาคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 18.49 ล้านไร่ ในพื้นที่ 50 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี พิจิตร ฉะเชิงเทรา พิษณุโลก ปทุมธานี กำแพงเพชร สุโขทัย นครปฐม ชัยนาท นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี อ่างทอง

ร้อยเอ็ด สิงห์บุรี นครราชสีมา ขอนแก่น สระบุรี นครพนม กรุงเทพมหานคร นนทบุรี เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ อุทัยธานี สกลนคร สุรินทร์ มหาสารคาม อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อุตรดิตถ์ ชลบุรี ยโสธร สมุทรปราการ กาฬสินธุ์ บึงกาฬ อุดรธานี บุรีรัมย์ หนองคาย ตาก ราชบุรี ลำปาง

หนองบัวลำภู กาญจนบุรี อำนาจเจริญ ลำพูน สระแก้ว เลย สมุทรสาคร รวม 461 อำเภอ 3,044 ตำบล โดยจังหวัดนครสวรรค์มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 1.62 ล้านไร่ และหากเทียบกับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2553 จะเห็นได้ว่าปี 2554 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด


เดือนตุลาคม

กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนตุลาคม



เดือนพฤศจิกายน ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 16.67 ล้านไร่ ในพื้นที่ 44 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา พิจิตร ปทุมธานี นครปฐม พิษณุโลก ชัยนาท กรุงเทพมหานคร นครนายก ลพบุรี อ่างทอง สุโขทัย ปราจีนบุรี สิงห์บุรี สระบุรี

ร้อยเอ็ด นนทบุรี อุบลราชธานี กำแพงเพชร นครศรีธรรมราช สมุทรปราการ พัทลุง ศรีสะเกษ สุรินทร์ ยโสธร ชลบุรี อุตรดิตถ์ มหาสารคาม เพชรบูรณ์ สมุทรสาคร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สงขลา อุทัยธานี ราชบุรี บุรีรัมย์ นครราชสีมา กาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี ตรัง อำนาจเจริญ สตูล รวม

356 อำเภอ 2,491 ตำบล โดยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 1.49 ล้านไร่ และหากเทียบกับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-2553 จะเห็นได้ว่าปี 2554 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด โดยมากกว่าปี 2549 ที่เกิดอุทกภัยรุนแรงเป็นเท่าตัว


เดือนพฤศจิกายน

กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายน



เดือนธันวาคม ดาวเทียมตรวจพบพื้นที่ถูกน้ำท่วม 6.93 ล้านไร่ ในพื้นที่ 32 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ นครปฐม ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี พิจิตร ลพบุรี ชัยนาท พิษณุโลก อ่างทอง สิงห์บุรี นครนายก ปราจีนบุรี นนทบุรี สระบุรี นครศรีธรรมราช

กรุงเทพมหานคร สงขลา พัทลุง สมุทรปราการ กำแพงเพชร สุโขทัย ชลบุรี อุตรดิตถ์ อุทัยธานี ปัตตานี นราธิวาส ยะลา ตรัง ราชบุรี สมุทรสาคร รวม 214 อำเภอ 1,489 ตำบล โดยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 1.14 ล้านไร่ และหากเทียบกับข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2548-

2553 จะเห็นได้ว่าปี 2554 มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด โดยมากกว่าปีอื่น ๆ ค่อนข้างมาก เนื่องจากยังมีปริมาณน้ำท่วมขังค้างอยู่บริเวณภาคกลางเป็นจำนวนมากที่ยังไม่สามารถระบายออกสู่ทะเลได้หมด


เดือนธันวาคม

กราฟเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมเดือนธันวาคม



ตารางแสดงพื้นที่น้ำท่วมรายปี รายจังหวัด

ตารางแสดงพื้นที่น้ำท่วมรายเดือน รายจังหวัด




ภาพดาวเทียมแสดงพื้นที่น้ำท่วม
ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)








การวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมและการประเมินปริมาณน้ำ
ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)