ข่าวน้ำท่วม


น้ำเหนือไหลบ่า กรุงเก่าจมน้ำสูงกว่า 2 เมตร [ ไทยรัฐ : 20 ส.ค. 54 ]

น้ำเหนือไหลบ่าหนัก 7 กรุงเก่าอ่วม จมใต้บาดาลสูงกว่า 2 เมตร ไร่นาเสียหายหนัก ชาวบ้านเร่งขนของย้ายขึ้นที่สูง

วันที่ 20 สิงหาคม 2554 นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รมช.ว่าการกระทรวงมหาดไทยพร้อมคณะได้เดินทางมาตรวจสถานการณ์น้ำท่วม ที่บริเวณหน้าวัดพนัญเชิงวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยาไหลมารวมกันแล้วไหลลงสู่ อ.บางปะอิน อ.บางไทรแล้วไหลผ่าน จ.ปทุมธานี โดยมีนายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.อยุธยา และนายวิทยา ผิวผ่อง ผวจ.พระนครศรีอยุธยา ให้การต้อนรับและกล่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ได้ปล่อยน้ำมาที่ท้ายเขื่อน 1,870 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ทำให้ระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 10-20 ซ.ม.ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน วัด โรงเรียน และสถานที่ราชการที่ตั้งอยู่ริม 2 ฝั่งแม่น้ำได้รับความเดือดร้อนจำนวน 7 อำเภอ ได้แก่ อ.พระนครศรีอยุธยา อ.เสนา อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.มหาราช อ.บางปะอิน และ อ.บางไทร ระดับน้ำท่วมขังสูง 50-140 ซ.ม.ทำให้นาข้าวได้รับความเสียหายจำนวน

24,314 ไร่ ชาวบ้านขนของไว้ที่สูง จึงได้สั่งการให้ทุกอำเภอเร่งช่วยเหลือประชาชนโดยมีเงินฉุกเฉินสำรองช่วย เหลืออำเภอละ 1 ล้านบาท

ส่วนสถานที่น่าเป็นห่วงคือ พระตำหนักสิริยาลัย วัดไชยวัฒนาราม วัดธรรมมาราม ระดับน้ำเหลืออีกเพียง 40 ซ.ม.จะล้นตลิ่ง อ.บางบาล น้ำจากคลองบางหลวงและคลองบางบาล ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน อย่างหนักที่ ต.บางหัก ต.บางหลวง ต.บางหลวงโดด ต.วัดตะกู ต.ไทรน้อย น้ำท่วมขังสูงกว่า 2 เมตร ชาวบ้านต้องหนุนของหนีน้ำขึ้นอีกครั้ง บางส่วนอพยพไปอาศัยอยู่ริมถนนพร้อมกับสัตว์เลี้ยง

ส่วนที่ อ.เสนา น้ำจากแม่น้ำน้อยยังไหลทะลักท่วมตลาดเสนา(ตลาดบ้านแพน)เพิ่มสูงขึ้นราว 30-60 ซ.ม.ชาวบ้านและร้านค้าต้องขนของหนีและย้ายไว้ที่สูงส่วนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ แม่น้ำน้ำท่วมสูงกว่า 160 ซ.ม. ระดับน้ำที่หน้าประตูระบายน้ำคลองขนมจีน ต.สามกอ สูงกว่า3 เมตร ต้องรอชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวก่อนสิ้นเดือนนี้ อ.พระนครศรีอยุธยา น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้าคลองเมืองรอบเกาะเมือง

อยุธยาไหลท่วมบ้านเรือน ประชาชนที่อยู่ริมคลองต้องขนของและสัตว์เลี้ยงหนีไว้ที่สูง

ต่อมา นายวิทยา บุรณศิริ รมต.ว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะได้เดินทางไปตรวจดูน้ำท่วมที่บริเวณวัดจุฬามณี ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล โดยมีนายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รมช.มหาดไทย พร้อมคณะเดินทางไปร่วมพร้อมแจกถุงยังชีพให้กับชาวบ้านที่ได้รับความเดือด ร้อนจากอุทกอภัยน้ำท่วมจำนวน 1,350 ชุด จากนั้น ได้เดินทางไปตรวจที่ อ.บางปะอิน พร้อมแจกถุงยังชีพอีกจำนวน 300 ชุด และตรวจดูน้ำที่บริเวณวัดไชยวัฒนาราม

นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รมช.มหาดไทย กล่าวว่า สถานการณ์การน้ำท่วมที่อยุธยาซ้ำซาก สมัยโบราณมีการขนส่งทางน้ำ น้ำไหลหลากก็ท่วมเป็นประจำ การจัดการน้ำเมื่อก่อนทำนาปี พอจัดการบริหารน้ำดี ชาวนาทำนาปลัง และบางที่ก็ทำนาตลอดทั้งปี ดังนั้นเจ้าหน้าที่กรมชลประทานจัดการบริหารน้ำให้ดีน้ำก็จะไม่ท่วม ดังนั้นทุกหน่วยงานต้องหันไปคิดย้อนหลังและแก้ไข







263 หมู่บ้านสุโขทัยอ่วมรอบ 8 ยอดตายพุ่ง 8 ศพ [ ผู้จัดการออนไลน์ : 11 ก.ย. 54 ]

สุโขทัย พื้นที่ 4 อำเภอ 43 ตำบล 263 หมู่บ้านของสุโขทัยอ่วมอีก หลังน้ำท่วมสูง เป็นรอบที่ 8 ถนนสายสุโขทัย-ศรีสำโรง ใกล้ขาดซ้ำ ขณะที่ชาวบ้าน-พระสงฆ์ ร่วมลงแรงขนกระสอบทราบล้อมอาคารโรงเรียนบ้านปากแคว หวังให้เด็กเรียนได้พรุ่งนี้ (12 ก.ย.) หลังต้องปิดยาวกว่าเดือน ขณะที่ยอดชาวบ้านสังเวยน้ำท่วมปีนี้ เพิ่มเป็น 8 ศพแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำ ท่วมที่ จ.สุโขทัย วันนี้ (11 ก.ย.) ว่า กลับเข้าสู่วิกฤตอีกครั้ง หลังมีฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ ประกอบกับน้ำเหนือไหลบ่าลงมาหนุน ทำให้บ้านเรือนราษฎร 263 หมู่บ้าน 43

ตำบล ในพื้นที่ 4 อำเภอ ถูกน้ำท่วมสูงเป็นระลอกที่ 8 ส่วนถนนสายสุโขทัย-ศรีสำโรง ตรงบริเวณหมู่ 6 (สายหลัง) ต.ปากแคว อ.เมืองสุโขทัย ที่ขาด 3 ช่วง และมีการนำสะพานเหล็ก มาวางเชื่อมให้สัญจรได้แล้วนั้น ล่าสุด แขวงการทางสุโขทัย ต้องเร่งนำไม้ยูคา และกระสอบทราย เข้าไปซ่อมแซมใต้คอสะพาน เนื่องจากถูกกระแสน้ำกัดเซาะ จนได้รับความเสียหายเพิ่ม

ส่วนที่โรงเรียนบ้านปากแคว ทางพระสงฆ์พร้อมด้วยชาวบ้าน รวมเกือบ 100 คน ได้ช่วยกันขนกระสอบทราย ทำแนวล้อมตัวอาคารเรียน เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง และให้เด็กนักเรียน สามารถมาเรียนได้ตามปรกติ

ในวันจันทร์นี้ (12 ก.ย.) เพราะที่ผ่านมา โรงเรียนถูกน้ำท่วม จนต้องหยุดยาวมานานเกือบ 1 เดือนแล้ว

สำหรับในพื้นที่ตัวเมืองสุโขทัย ทางเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ก็ได้ทำการระบายน้ำออกอย่างเร่งด่วน หลังจากมีน้ำยมทะลักผ่านท่อเข้ามาท่วมบ้านเรือน ร้านค้า และถนน ในหลายชุมชมของเขตเทศบาล

ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำท่วม จ.สุโขทัย มีผู้ได้รับความเดือดร้อนแล้วกว่า 120,000 คน รวมเสียชีวิต 8 ราย และมีนาข้าวเสียหายอีกกว่า 300,000 ไร่







กรมชลฯ และทหารเตรียมอุดประตูบางโฉมศรี [ ไทยรัฐ : 30 ก.ย. 54 ]

สถานการณ์ที่ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี ต. ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี หลังน้ำทะลักจนทำให้ประตูกั้นน้ำพัง ล่าสุด กรมชลประทานร่วมกับทหาร เตรียมระดมก้อนหินที่บรรจุในกล่องเหล็ก กว่า 1,000 กล่องวางขวางกระแสน้ำลดความเชี่ยว

เมื่อวันที่ 29 ก.ย.2554 ที่บริเวณประตูระบายน้ำบางโฉมศรี ต. ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ได้มีทหารช่างพัฒนาจากกองทัพบก กว่า 100 นาย ระดมก้อนหินมาเทเพื่อที่จะบรรจุในตู้กล่องเหล็ก

จำนวนมาก โดยจะะลำเลียงใส่โป๊ะขนไปวาง ลงบริเวณน้ำที่ไหลเชียวหลากเพื่อเป็นการลดความแรงของน้ำ ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี อ.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เพื่อลดแรงดันที่หลากไปท่วมจังหวัดลพบุรี ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เนื่องจากระดับน้ำในจังหวัดลพบุรี ระดับน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆ

นาย มนตรี ตันตระกูล วิศวกรใหญ่ควบคุมการก่อสร้างกรมประทาน ที่เดินทางลงพื้นที่บริเวณประตูระบายน้ำบางโฉมศรีวันนี้ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เตรียมการที่จะลดความ

รุนแรงของน้ำจากประตูระบายน้ำจริง โดยจะนำกำลังทหารช่างพัฒนา จาก กองทัพบก กว่า 100 นาย ระดมก้อนหินที่บรรจุในกล่องเหล็ก กว่า 1,000 กล่อง โดยจะะลำเลียงใส่โป๊ะขนไปวาง ลงบริเวณน้ำที่ไหลเชียวเพื่อเป็นการลดความแรงของน้ำ ทั้งนี้ จะทำความเข้าใจกับชาวบ้านตำบลชีน้ำร้ายก่อนว่าไม่ได้ปิดไม่ให้น้ำไหลแต่จะลด ความแรงของกระแสน้ำ โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เย็นวันนี้เป็นต้นไป






น้ำท่วมกรุงเก่า"นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนคร"จมมิด เสียหายกว่าหมื่นล้าน!! [ คมชัดลึก : 5 ตุลาคม 54 ]

นายสุนทร พงษ์เผ่า ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ว่า นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนคร ต.บางพระครู อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้กลายเป็นเมืองที่จมบาดาลไปทันที ภาย หลังที่เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา เกิดคันกั้นน้ำแตกระดับน้ำไหลหลากกว่า 3-4 เมตรทะลักเข้าจมโรงงานขนาดใหญ่กว่า 46 แห่ง โดยแต่ละแห่งเป็นโรงงานขนาดพันล้านถึงหลายหมื่นล้าน และเกือบทุกโรงงานมีอาคารโกดังการผลิตโรงงานละกว่า 10 อาคารหรือ 10 โรงงานย่อยในบริษัทใหญ่ นอกจากนี้ยังมีโรงงานขนาดย่อมที่เป็นโรงงงานซับคอนแท็กของโรงงานขนาดใหญ่อีก เป็นร้อยโรงงาน ได้จมน้ำลงทั้งหมด โดยพบว่าเกือบทุกโรงงานไม่สามารถที่จะขนย้ายสิ่งของได้ทัน โดยนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่รับผิดชอบพื้นที่น้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา ลงตรวจสอบพื้นที่และพบว่าสร้างความเสียหายเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้าน

ขณะที่แหล่งข่าวจากสภาอุตสาหกรรมฯ เปิดเผยว่า ความเสียหายของนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนครเบื้องต้น 3-4 หมื่นล้าน

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังได้บันทึกภาพถ่ายรวมทั้งคลิปวิดีโอน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนคร มาให้ได้รับทราบความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาลกับพี่น้องชาวไทยอีกด้วย

สำหรับ 46 บริษัท ที่อยู่ภายใน นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนคร มีดังนี้

1) บริษัท คาโต้เล็ค (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตแผงวงจรไฟฟ้า และวงจรอิเล็กทรอนิกส์
2) บริษัท คุมิ (ไทยแลนด์) จำกัด ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจากพลาสติก
3) บริษัท คูราโม่ (ไทยแลนด์) จำกัด ผลิตและประกอบชุดสายไฟสำเร็จรูป
4) บริษัท เค.วี.เอส. เพลทติ้ง จำกัด CHEMICAL PLATING
5) บริษัท จี ไอ เค (ไทยแลนด์) จำกัด ผลิตแม่พิมพ์โลหะ
6) บริษัท โจนส์แอนด์ไวน์นิ่ง จำกัด หุ่นรองเท้าทำด้วยพลาสติก
7) บริษัท เชียง ไทย นิตติ้ง จำกัด เสื้อผ้าสำเร็จรูป ถักเสื้อไหมพรม
8) บริษัท ซี.ดี.เอส. เอเซีย จำกัด ผลิตภัณฑ์โลหะ เช่น DOOR HANDLE,FURNITURE HANDLE

9) บริษัท ไดมุ (ไทยแลนด์)จำกัด พิมพ์สิ่งพิมพ์
10) บริษัท ท็อป ไฮเทค (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตแม่พิมพ์โลหะและชิ้นส่วนพลาสติก
11) บริษัท ทีเอส เทค (ประเทศไทย) จำกัด ชิ้นส่วนภายในยานยนต์ เช่น เบาะนั่ง แผงประตู แผงหลังคา พวงมาลัย
12) บริษัท เทราล ไทย จำกัด ชิ้นส่วนปั๊มน้ำและชิ้นส่วนเครื่องจักร
13) บริษัท ไทย นิชชิน โมลด์ จำกัด แม่พิมพ์และชิ้นส่วนพลาสติก
14) บริษัท ไทย มารูจูน จำกัด ทำแบบ (DIES) และชิ้นส่วนยานยนต์
15) บริษัท ไทยคีทาฮาร่า จำกัด ผลิตกล่องกระดาษและกล่องพลาสติก
16) บริษัท ไทยชิบาอุระเด็นชิ จำกัด ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิก (THERMISTOR SENSORS)
17) บริษัท ไทยฮิดากะ จำกัด ผลิตแม่พิมพ์โลหะ รางม่านพร้อมอุปกรณ์ ชิ้นส่วนโครงพัดลมและใบพัดลมระบายอากาศ
18) บริษัท ธนาคม อินเจคชั่น จำกัด รองเท้า และชิ้นส่วนรองเท้าทำจาก PVC
19) บริษัท เน็กซัส อิเลคเคมิค จำกัด ชุบเคลือบผิวโลหะ (Electro Plating)
20) บริษัท บี.เอส.คามิยะ จำกัด CHEMICAL PLATING
21) บริษัท พี พี ไอ จำกัด ผลิตสีตีเส้นจราจร ผลิตสีน้ำมัน,สีน้ำ,น้ำมันขัดเงา,น้ำมันผสมสี,น้ำมันล้างสี และผลิตภัณฑ์โลหะสำหรับงานจราจร
22) บริษัท เฟิสท์ แอพพาเรล (ไทยแลนด์) จำกัด เสื้อผ้าสำเร็จรูป
23) บริษัท เอม อิเล็คทริค (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
24) บริษัท มาสโปร แอมเทค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผลิตประกอบอุปกรณ์ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
25) บริษัท เมเทค คิทามูระ (ประเทศไทย) จำกัด ชุบเคลือบผิวโลหะ
26) บริษัท ยามาโมโต้ เฟาน์ดรี (ประเทศไทย) จำกัด หล่อโลหะ
27) บริษัท โยชิทาเคะ เวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตและประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์ ข้อต่อ ข้องอ (STRAINER) และวาล์ว
28) บริษัท โยเนะเด็น (ประเทศไทย) จำกัด ชุดสายไฟ และอุปกรณ์
29) บริษัท รัตนนครเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับงานอุตสาหกรรม
30) บริษัท วี.เอ็น.เคมีคัลซัพพลาย จำกัด กาวยางสังเคราะห์และปูนยาแนวสำเร็จรูป
31) บริษัท เวสเซล (ประเทศไทย) จำกัด ผลิต HAND TOOLS และAIR TOOLS PARTS เช่น SCREWORIVER SETS


32) บริษัท สยาม เค็นเซทสุ จำกัด ผลิตภัณฑ์พลาสติกและประกอบชิ้นส่วนสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
33) บริษัท สยาม เอ็นเคเอส จำกัด น้ำยาชุบเคลือบผิวโลหะ,ทำให้โลหะแวววาว และนำยาลอกผิวโลหะ
34) บริษัท สยามยามาโต้ อินดัสทรี จำกัด ผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและสำนักงาน
35) บริษัท อาควา นิชิฮาร่า คอร์ปอเรชั่น จำกัด ถังบำบัดน้ำเสีย ถังเก็บน้ำ ถังเก็บเคมีภัณฑ์ อุปกรณ์สำหรับระบบบำบัดน้ำเสีย ทำจากพลาสติกและไฟเบอร์กลาส
36) บริษัท อินโนเวชั่น นครหลวง ฟุตแวร์ จำกัด รองเท้ากีฬา
37) บริษัท อี พี อี (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ แม่พิมพ์ ปั๊มโลหะและประกอบปืนยิงอิเลคตรอน ชิ้นส่วนโทรทัศน์สี
38) บริษัท เอคโค่ แทนเนอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตหนังสำเร็จรูป
39) บริษัท เอคโค่ (ประเทศไทย) จำกัด รองเท้าและชิ้นส่วนรองเท้าทำจากหนัง
40) บริษัท เอ็น ไอ (ประเทศไทย) จำกัด PLASTIC MOULDING DINES,METAL STAMPING DIES AND ITS COMPONENTS FOR SEMICONDUCTOR AND ELECTRONIC PRODUCTS, COMPONENTS OF AUTOMATIC MACHINES FOR SEMICONDUCTOR PRODUCTS
41) บริษัท เอฟ.ที.เอ็น จำกัด ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตโลหะและชิ้นส่วนโลหะสำหรับผลิตภัณพ์ยานยนต์ และสำหรับผลิตภัณฑ์และสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์การชุบเคลือบผิวโลหะ และพลาสติก
42) บริษัท ฮิดะ อยุธยา (ประเทศไทย) จำกัด ผลิต TRANSFORMER ADAPTOR และชุดสายไฟฟ้าสำเร็จรูป
43) บริษัท ไฮเทค-รับเบอร์ โปรดัคส์ จำกัด ชิ้นส่วนจากยางและซิลิโคนสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์
44) บริษัท บ้านแพน เอนจิเนียริ่ง แอนด์ โฮลดิ้ง จำกัด ก่อสร้างแฟลตเพื่อขายหรือให้เช่า
45) บริษัท สหรัตนนคร จำกัด ก่อสร้างอาคารทาวน์เฮ้าส์เพื่อขายหรือให้บริการ, สถานีบริการน้ำมันและร้านสะดวกซื้อ







วารีพิโรธที่โรจนะ 'เก๋งฮอนด้า'จมมิดกว่า 200 คัน [ ไทยรัฐ : 9 ต.ค. 54 ]

อยุธยาวิกฤติหนัก! น้ำทะลักท่วมนิคมฯโรจนะ 20 โรงงาน จมน้ำสูง 2-3 เมตร ขณะที่ฮอนด้าย้ายรถออกมาไม่ทัน ปล่อยจมน้ำ 200 คัน ส่วนที่ อ.ผักไห่ พบผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย เนื่องจากไฟดูด ด้าน มจร.วังน้อย พร้อมช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมในอยุธยา เปิดพื้นที่ให้หลบภัยชั่วคราว

วันที่ 9 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า เริ่มวิกฤติหนัก โดยน้ำจากตัวเมืองอยุธยาท่วมถนนสายโรจนะขยายวงกว้างไปถึงปากประตูทางเข้า 1 และ 2 ของสวนอุตสาหกรรมโรจนะ ต.คานหาม อ.อุทัย ตั้งแต่เวลา 20.00 น. วานนี้(8ต.ค.) ระดับน้ำสูง 30-50 ซม. จากนั้นน้ำจากคลองข้าวเม่าได้ข้ามทุ่งโจมตีคันดินด้านโรงงานผลิตรถยนต์ ฮอนด้าที่สูง 5 เมตร กว้าง 3-5 เมตรพังทลาย กระแสน้ำพุ่งเข้าอย่างรุนแรง เจ้าหน้าที่ได้ระดมพลทหารกว่า 200 นาย คนงานในนิคมฯ และชาวบ้านช่วยกรอกทรายใส่กระสอบ นำไปกั้นกระแสน้ำตลอดทั้งคืน จนกระแสน้ำเบาบางลง แต่โรงงานจำนวน 20 โรง ต้องจมน้ำระดับความสูง 2-3 เมตร ส่วนที่เหลือเจ้าหน้าที่ได้วางแนวกระสอบทรายสูงกว่า 3 เมตร ป้องกันไม่ให้น้ำทะลักเข้าไปชั้นใน นาย ประยูร ติ่งทอง อุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ทางนิคมได้ป้องกันเต็มที่เสริมคันดินแล้ว แต่กระแสน้ำได้เข้าทางทุ่งนา ซึ่งดินด้านนี้จะอ่อนตัวกว่าด้านอื่น น้ำจึงทะลักเข้ามาได้ เจ้าหน้าที่ได้เร่งอุดตลอดทั้งคืนจนน้ำหยุดแล้ว แต่กระแสน้ำได้เข้าท่วมโรงงานบางส่วนน้ำสูง 2-3 เมตร และป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วมชั้นใน ซึ่งสวนอุตสาหกรรมโรจนะ มีโรงงาน 223 โรง มีการลงทุนไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นล้านบาท น้ำท่วมไปแล้วประมาณ 20 โรงงาน ส่วนที่เหลือเราจะป้องกันเต็มที่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมาช่วงบ่ายน้ำได้ทะลักเข้าท่วมสวนอุตสาหกรรมโรจนะทั้งประตู 1 และ 2 น้ำขังสูง 2-3 เมตร ขยายวงกว้างท่วมแล้ว 90% ประมาณ 200 โรงงาน สำหรับโรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้าได้เร่งขนย้ายรถจำนวน 3,000 คัน ตั้งแต่วันที่ 6 ต.ค. แต่ยังคงเหลือรถที่ยังจอดอยู่ภายในโรงงานประมาณ 200 คันจมน้ำ ค่าเสียหายหลายหมื่นล้านบาท

นายทวี นริสศิริกุล รอง ผวจ.พระนครศรีอยุธยา เดินทางไปตรวจเยี่ยมศูนย์อพยพ ที่บริเวณอาคารพาณิชย์ ริมถนนสายเอเชีย ตรงข้ามศูนย์ราชการ ซึ่งเมื่อคืนมีฝนตกหนัก ทำให้ผู้อพยพที่อยู่ในเต็นท์ประมาณ 4,700 คน ส่วนใหญ่เป็นคนแก่และเด็กต้องเปียกปอน จึงได้ให้เจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาล เข้าทำการรักษาผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคไข้หวัดและน้ำกัดเท้า

ขณะ ที่สถานการณ์น้ำท่วมในเกาะเมืองเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยายังท่วมสูง ขยายวงกว้างเข้าท่วมที่ทำการองค์การโทรศัพท์ทีโอที ทำให้น้ำท่วมหม้อแปลงไฟฟ้า เจ้าหน้าที่จึงต้องใช้ไฟปั่นช่วย โทรศัพท์พื้นฐานและระบบอินเทอร์เน็ตล่มทั้งจังหวัด ทำให้การติดต่อสื่อสารขัดข้อง

ทั้งนี้กลางดึกที่ผ่านมา น้ำได้ล้นคันกั้นน้ำของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เจ้าหน้าที่จึงต้องย้ายผู้ป่วยหนักไปไว้ตามโรงเรียนแพทย์ อาทิ รพ.รามา รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ เป็นต้น ตลอดทั้งคืน นอกจากนี้ยังเกิดเหตุการณ์โกลาหล เมื่อญาติและคนไข้พยายามที่จะย้ายออกจาก รพ. แต่การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากน้ำท่วมหมดทั้งเกาะเมือง

ด้าน เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แจ้งว่าขณะนี้ได้ตั้งศูนย์บัญชาการโรงพยาบาลสนาม(เคลื่อนที่) ที่บริเวณตลาดรุ่งเจริญ ด้านหลังศูนย์อพยพผู้ประสบภัยของจังหวัดฯ โดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาล ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขหมุนเวียนมาเข้าเวรรักษา หากผู้ประสบภัยป่วยมารักษาได้ทันที ที่ อ.ผักไห่ น้ำยังคงท่วมขังสูง 2-3 เมตร พบผู้เสียชีวิตจากไฟดูด 1 ราย ทราบชื่อ นายสมพร วัฒนะจิตตพงษ์ อายุ 81 ปี ขณะกำลังออกจากบ้านไปทำธุระ เดินลุยน้ำที่ขังราว 15 ซม. แล้วยืนจับเสาไฟฟ้า ทำให้ถูกไฟดูดเสียชีวิตคาที่

ขณะที่ พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.) กล่าวว่า ตามที่พื้นที่ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ประสบภัยน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนต้องเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา จึงจะเปิดอาคารเรียนรวมให้เป็นสถานที่อพยพสำหรับประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม และไม่มีที่อยู่อาศัย โดยเบื้องต้นได้มีคนงานจากนิคมอุตสาหกรรมโรจนะติดต่อมาเพื่อขอใช้พื้นที่ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ในการพักอาศัยเพื่อหลบภัยน้ำท่วมแล้วประมาณ 400 คน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ มีพื้นที่รองรับเพียงพอ และสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยได้ ขณะเดียวกันทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ วังน้อย ยังเปิดรับบริจาคสิ่งของช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมด้วย







'นครสวรรค์'ยังวิกฤติ เขตเศรษฐกิจจมบาดาล [ ไทยรัฐ : 11 ต.ค. 54 ]

พ่อเมืองปากน้ำโพ เผยยังอุดช่องโหว่คันกั้นน้ำไม่ได้ ทำให้เขตเศรษฐกิจจมบาดาลทั้งหมดแล้ว โดยระดับน้ำสูงใกล้เคียงกับน้ำในแม่น้ำ เหลือฝั่งศาลากลางที่ยังท่วมไม่ถึง ส่วนสะพานเดชาฯ ยังแกร่งใช้การได้ ขณะเดียวกันมีชาวบ้านร่วม 2,000 ราย ลงทะเบียนเข้าศูนย์อพยพแล้ว

เมื่อ เวลาประมาณ 12.30 น. วันที่ 11 ต.ค. นายชัยโรจน์ มีแดง ผวจ.นครสวรรค์ ให้สัมภาษณ์ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เขตเทศบาลนคร นครสวรรค์ ว่า หลังคันกั้นแม่น้ำปิงบริเวณหลังโรงน้ำแข็งเก่าตลาดบ่อนไก่พังถล่มเป็นแนว ประมาณ 100 เมตร ตั้งแต่เมื่อวันที่

10 ต.ค.ที่ผ่านมา จังหวัด ร่วมกับเทศบาล ทหาร จากกองทัพภาคที่ 3 และผู้เกี่ยวข้องได้เข้าสกัดกั้นน้ำและดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงในขณะนี้ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เพียงสามารถล้อมน้ำเอาไว้ เนื่องจากกระแสน้ำรุนแรงและเพิ่มระดับอย่างรวดเร็วจนเข้าปฏิบัติงานยากลำบาก ทำให้น้ำท่วมฝั่งตลาดหรือ เขตเศรษฐกิจทั้งหมดแล้ว โดยระดับน้ำใกล้เคียงกับแม่น้ำ ส่วนฝั่งศาลากลางจังหวัดน้ำยังไม่ท่วม แต่มีการวางแนวป้องกันและแจ้งเตือนประชาชนไว้แล้ว

ทั้งนี้ ตั้งแต่คันกั้นน้ำพังมีการประกาศให้ประชาชนอพยพไปยังศูนย์อพยพทั้ง 5 แห่ง

ตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้ มีประชาชนลงทะเบียนเข้าศูนย์ แล้วประมาณ 2 พันคน จากความสามารถรองรับได้ประมาณ 1 หมื่นคน ยังไม่มีปัญหา เบื้องต้นได้เน้นแจกจ่ายอาหารให้ทั่วถึงและเพียงพอ ควบคู่ไปกับการเข้าตรวจสอบและช่วยเหลือประชาชนอพยพออกจากพื้นที่ ผู้ว่าราชการ จ.นครสวรรค์ กล่าวถึงความกังวลสะพานเดชาติวงศ์จะได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมจนทำให้ตัด ขาดการสัญจรไปยังภาคเหนือว่า เบื้องต้นยังไม่พบความเสียหาย ขณะที่เจ้าหน้าที่ยืนยันว่า สามารถรองรับแรงกดทับและรับน้ำหนักได้ประมาณ 5-6 เท่า อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้







โรงงานกว่า900โรงจมบาดาล เสียหายไม่ต่ำกว่า2.6หมื่นล้าน [ ไทยรัฐ : 12 ต.ค. 54 ]

รมว.อุตฯเผย น้ำท่วมโรงงานอุตสาหกรรม 28 จังหวัด ทำโรงงานดำบาดาล 930 โรงงาน เฉพาะ 3 จังหวัดอยุธยา-ลพบุรี-นครสวรรค์ เสียหายหนักสุด ประเมินแล้วกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท

เมื่อวันที่ 12 ต.ค. นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่โรงงานอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบทั้งประเทศว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมใน 59 จังหวัด มี 28 จังหวัด ที่โรงงานอุตสาหกรรมถูกน้ำท่วม ตั้งแต่โอทอป เอสเอ็มอี จนถึงโรงงานขนาดใหญ่ ได้รับผลกระทบรวม 930 โรงงาน โดยโรงงานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และนครสวรรค์ ได้รับความเสียหายสูงสุด เพราะเกิดความเสียหายทางตรงและทางอ้อมโดยรวมไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ประกอบกับค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 25,000 ล้านบาท รวมเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว 26,000 ล้านบาท รวมตัวเลขของนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ยังไม่รวมผลเสียหายของนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมินตรวจสอบ

รมว.อุตสาหกรรม กล่าวต่อว่า นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า หรือ ไฮเทค ขณะนี้ยังปลอดภัย โดยเช้าวันนี้แนวกั้นน้ำรั่วตามรูขนาดเล็ก จึงระดมทหาร 150 นาย และแรงงาน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อช่วยหยุดการไหลซึมในทิศเหนือ ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำยังคงสูงขึ้นขณะนี้ต่ำกว่าคันดินเพียง 50 เซนติเมตร การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จึงขอความร่วมมือผู้ประกอบการหยุดเดินเครื่อง พร้อมอพยพแรงงานเรียบร้อยแล้ว

เหลือเพียงเจ้าหน้าที่ต้องเฝ้าระวังและเสริมกำลังแข็งแกร่งของแนวดินกั้นน้ำ พร้อมกันนี้มีการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ สินค้า ออกไปยังพื้นที่ปลอดภัยแล้ว อย่างไรก็ตาม แนวคันดินของนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค โดยเฉลี่ยสูง 5.50 เมตร กำลังเพิ่มทิศเหนือเป็น 6 เมตร

เนื่องจากมีปัญหาการรั่วซึมของน้ำในนิคมฯ ส่วนอีก 3 ด้าน คันดินยังคงมีสภาพที่จะรับน้ำได้อีก 60 เซนติเมตร ส่วน นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน เป็นนิคมในเครือของ ช.การช่าง ได้มีการเตรียมเครื่องมือขนาดหนักเสริมคันดิน จึงค่อนข้างมั่นใจว่าจะปลอดภัย ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ยังดี เขื่อนดินยังมีความห่างจากน้ำ 1.30 เมตร กนอ.ขอให้ผู้ประกอบการหยุดดำเนินการเพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์ แต่ได้รับความร่วมมือบางส่วน เนื่องจากบางโรงงานพิจารณาแล้วเห็นว่ายังสามารถดำเนินการต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ยังคงเฝ้าระวังแนวดินกั้นน้ำตลอด มี 111 โรงงานในนิคมฯ

นิคมอุตสาหกรรมแฟคตอรี่ มี 99 โรงงาน ยังปลอดภัย แนวคันดินยังสูงกว่าระดับ 70 เซนติเมตร ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมชลประทานระบุว่า เขื่อนป่าสักลดการปล่อยน้ำลงจาก 750 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เหลือ 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ลดกระแสน้ำลงสู่พื้นที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ระดับน้ำยังเท่าเดิม จึงยังคงเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดในทุกพื้นที่เสี่ยงอันตรายจากอุทกภัยทุก พื้นที่



สำหรับ พื้นที่ปทุมธานี เขตประกอบการอุตสาหกรรมนวนคร นิคมอุตสาหกรรมบางกระดี เขื่อนดินกั้นน้ำยังอยู่ในสภาพที่จะป้องกันอย่างดี ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้ตั้งวอร์รูม หรือศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย กระทรวงอุตสาหกรรมขึ้นมาดูแล นำโดยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับสูงทั้งหมด ตั้งแต่รองปลัดกระทรวง ทำหน้าที่สับเปลี่ยนดูแลตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมส่งหน่วยเฉพาะกิจไปเฝ้าระวังทุกนิคมอุตสาหกรรม

นิคมอุตสาหกรรม ลาดกระบัง แนวคันดินสูง 1.60 เมตร สูงจากน้ำ 56 เซนติเมตร ส่วนนิคมอุตสาหกรรมบางชัน คันดินยังสูงกว่าระดับน้ำ 50 เซนติเมตร โดยคันดินสูง 2.20 เมตร แนวป้องกันยังแข็งแรงปลอดภัย และทั้ง 2 นิคมฯ ยังผลิต ไม่มีการอพยพคนแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม กนอ.ได้ขอความร่วมมือให้ผู้บริหารทั้ง 2 นิคมฯ ต่อสู้กับภัยน้ำ พร้อมมีการตั้งศูนย์เฉพาะกิจขึ้นมาดูแล

ส่วนนิคม อุตสาหกรรมบางพลี และนิคมอุตสาหกรรมบางปู กระทรวงอุตสาหกรรมไม่เป็นห่วง อย่างไรก็ตาม มีการวางแผนป้องกันอย่างเต็มที่ เนื่องจากบางปู เป็นอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออก ประกอบกับน้ำเหนือยังมีระยะทางอีกไกล และมีข้อดีที่ กทม. เร่งระบายน้ำ ประกอบกับมีถนนมอเตอร์เวย์ขวางกั้นทางน้ำไหล

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะมีการแถลงข่าวสถานการณ์น้ำท่วมทุกวัน เวลา 10.00 น. และ 17.00 น.







บัวทองเคหะท่วมแล้ว! น้ำสูงกว่า 1 ม. 8 พันหลังจมบาดาล [ ไทยรัฐ : 14 ต.ค. 54 ]

ท่วมแล้ว! หมู่บ้านบัวทองเคหะน้ำขึ้น 1 เมตร พบเอ่อล้นจากคลองพิมลราชา บ้านเรือนกว่า 8 พันหลัง จมบาดาลได้รับความเดือดร้อน วอนให้ความช่วยเหลือด่วน

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 14 ต.ค.54 ศูนย์วิทยุบางบัวทอง ได้แจ้งว่า หมู่บ้านบัวทอง เคหะ ม.1 ต.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ได้เกิดเหตุน้ำท่วม โดยหมู่บ้านดังกล่าวเป็นหมู่บ้าน

ใหญ่หลายโครงการ บ้านเรือนไทย บ้านกาณต์มณี หมู่บ้านมนลดา โดยมีชาวบ้าน ม.14 หมู่ 3 กว่า 8,000 หลังคาเรือน โดยมีน้ำท่วมด้านหน้าโครงการต่างๆ สูงกว่า 50 ซม. ส่วนด้านใน น้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร

สอบถามนายวรชัย วาณิช อดีต ส.อบต.ในพื้นที่ กล่าวว่า น้ำได้เอ่อล้นจากคลองพระพิมลราชา ทางด้าน ซอยโรงหมี่ ถนน

บางกรวย-ไทรน้อย เข้าท่วมหมู่บ้าน ชาวบ้านต่างขนของหนีน้ำ บางรายอพยพไปอยู่ที่อื่น อ.บางบัวทอง ส่งเรือมาให้ชาวบ้านใช้ 4 ลำ ทหารนำรถหกล้อ 1 คัน เรือ 2 ลำ ช่วยชาวบ้านขนของออกมา แต่ก็ยังไม่พอ ในขณะที่ความช่วยเหลือด้านในยังไปไม่ถึง







แกะรอย 5 พายุมัจจุราช!..'ธรรมชาติเอาคืน' [ ไทยรัฐ : 17 ต.ค. 54 ]

เดือดร้อนกันไปทั่วสำหรับปัญหาน้ำท่วมที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง หลายจังหวัดในประเทศไทยตอนนี้ยังคงต้องรับศึกหนักกับน้ำก้อนใหญ่ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้พายุและฝนกระหน่ำประเทศไทยแบบเต็มๆ ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมาประเทศไทยเจอกับพายุไปแล้วถึง 4 ลูก ซึ่งได้สร้างความเสียหายอย่างมาก คงไม่มีใครคิดมาก่อนว่าสายลมเพชฌฆาตเหล่านี้ จะมีผลทำให้หลายๆ จังหวัดทางภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทยจมหายกลายเป็นเมืองบาดาล 'ไทยรัฐออนไลน์' วันนี้ ขอพามารู้จักพายุที่ทำให้ประเทศไทยเจอกับภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ในปีนี้

ตั้งแต่ต้นปี 2554 ในช่วงเดือนมีนาคม ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเริ่มชัดเจนขึ้นทีละนิด แต่ประชาชนส่วนใหญ่อาจยังไม่รู้สึกถึงภัยธรรมชาติที่กำลังจะเกิดขึ้นในเวลา ต่อมา จากเดิมในช่วงมีนาคม ซึ่งปกติอากาศจต้องร้อนอบอ้าว กลับเป็นหนาวเย็นและมีฝนตก เนื่องจากมาจากอิทธิพลของความกดอากาศสูงที่ประเทศจีน แผ่ปกคลุมมาถึงประเทศไทยตอนบน และในขณะเดียวกัน หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงก็ส่งผลมาถึงภาคใต้ตอนกลาง ตลอดเดือนมีนาคมนั้นจึงทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบตลอดเดือน ทำให้เกิดอุทกภัยเป็นบริเวณกว้างและรุนแรงกว่าครั้งไหนๆ อีกทั้งยังมีเหตุดินโคลนถล่มใน จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง และกระบี่ ซึ่งตั้งแต่นั้นมาภาพรวมของประเทศไทยก็ยังคงมีฝนตกอยู่มากน้อยเป็นบาง พื้นที่ แต่เป็นครั้งแรกที่ไม่มีฝนทิ้งช่วง จึงทำให้ปริมาณของน้ำมากเกินความต้องการ และที่น่าเป้นห่วงที่สุดก็คือ ประเทศไทยก็ยังคงได้รับอิทธิพลจากพายุโหมกระหน่ำเข้ามาอีกหลายลูก ทั้งพายุโซนร้อนไหหม่า, พายุโซนร้อนนกเตน, พายุโซนร้อนไห่ถาง พายุไต้ฝุ่นเนสาด และพายุโซนร้อนนาลแก

พายุโซนร้อนไหหม่า

'ไหหม่า' (Haima) เป็นชื่อพายุมาจากประเทศจีน มีความหมายว่า 'ม้าน้ำ' พายุลูกนี้เกิดจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ร่องความกดอากาศต่ำ ซึ่งเข้ามาเมื่อเดือนมิถุนายน โดยเคลื่อนเข้าฝั่งที่ประเทศเวียดนามตอนบนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554 แล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเคลื่อนผ่านประเทศลาว จนอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2554 จากนั้นได้เคลื่อนเข้าปกคลุมที่จังหวัดน่าน และสลายตัวในวันเดียว ซึ่งมีผลทำให้ภาคเหนือตอนบนของไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากอย่างต่อเนื่อง มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดใน 24 ชั่วโมง มีระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อ.ปัว จ.น่าน วัดได้ 335.2 มิลลิเมตร

ผลกระทบจากพายุโซนร้อนไหหม่า

หลังจากที่พายุสลาย ตัวลงที่ จ.น่าน เพียงวันเดียว ต่อมาในวันที่ 25 มิถุนายน 2554 มีรายงานน้ำท่วมฉับพลัน น้ำปาไหลหลาก ดินถล่มที่ จ.แพร่ เชียงราย พะเยา น่าน ตาก และสุโขทัย มีผู้เสียชีวิตรวม 3 ราย ประชาชนเดือดร้อน 105,703 ครัวเรือน 411,573 8 คน พื้นที่เกษตรเสียหาย 159,598 ไร่

พายุโซนร้อนนกเตน

พายุ นกเตน (Nok-Ten) หรือพายุนกกระเต็น ซึ่งเป็นชื่อที่ประเทศลาวได้ตั้งไว้นั้น เป็นพายุที่เกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้าน ตะวันตก จนทำให้เกิดฝนตกหนักในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทย ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม ซึ่งในวันที่ 25 กรกฎาคม ได้ทวีความแรงขึ้นจนเป็นพายุโซนร้อนและเคลื่อนตัวผ่านเกาะลูซอน ที่ฟิลิปปินส์ ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลาง จากนั้นเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือที่เกาะไหหลำ และอ่าวตังเกี๋ยขึ้นฝั่งที่เวียดนามตอนบนในวันที่ 30 กรกฎาคม กระทั่งมาผ่านประเทศลาวพร้อมกับอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในวันที่ 31 กรกฎาคม ซึ่งในวันเดียวกันก็เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยที่ จ.น่าน อ่อนกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคเหนือที่ จ.แพร่ ลำปาง เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน

ผลกระทบจากพายุโซนร้อนนกเตน

อิทธิพลจากพายุ ลูกนี้ ในส่วนของประเทศไทย ทำให้มีฝนตกกระจายหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณน้ำฝนมากท่ีสุดใน 24 ชั่วโมง วัดได้ 405.9 มิลลิเมตร ที่ อ.เมือง จ.หนองคาย เกิดเหตุน้ำท่วมรวม 20 จังหวัด ตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ตอนบน มีผู้เสียชีวิต 20 ราย สูญหาย 1 คน บาดเจ็บ 11 คน ประชาชนเดือดร้อน 314,732 ครัวเรือน 1,029,716 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 619,723 ไร่ หลัง จากที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และร่องความกดอากาศต่ำที่ถาโถมเข้ามาอย่างไม่ยั้งแล้ว ในช่วงเดือนกันยายน ประเทศไทยยังต้องรับมือจากอิทธิพลพายุหมุนเขตร้อนอีก 2 ลูกใหญ่ ส่งผลให้หลายจังหวัดทางภาคเหนือ และภาคกลางตอนบนและตอนล่าง รวมไปถึงภาคอีสานตอนบนเกิดเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ ขยายเป็นวงกว้าง

พายุโซนร้อนไห่ถาง

พายุ โซนร้อนไห่ถาง (Haitang) แปลว่า ดอกแคร็ปแอปเปิ้ลบานจากประเทศจีนลูกนี้ เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองเว้ ประเทศเวียดนาม ในวันที่ 27 กันยายน 2554 และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน ก่อนเคลื่อนตัวมาที่ลาว จากนั้นอ่อนกำลังลงอีกครั้งเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนเข้าปก คลุมที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของไทยในวันที่ 28 กันยายน 2554

พายุโซนร้อนเนสาด

พายุ โซนร้อนเนสาด (Nesat) เป็นชื่อที่ตั้งโดยประเทศกัมพูชา แปลว่า การจับปลา หรือคนจับปลา ซึ่งเดิมทีเป็นพายุไต้ฝุ่นที่เคลื่อนตัวผ่านอ่าวตังเกี๋ยขึ้นฝั่งที่เมืองฮา ลอง ประเทศเวียดนาม ในช่วงที่มีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 30 กันยายน 2554

ผลกระทบจากพายุโซนร้อนไห่ถางและเนสาด

จาก การถาโถมอย่างแรงของพายุทั้ง 2 ลูกนี้ ในส่วนของประเทศไทยตอนบนนั้น ทำให้ฝนตกชุกหนักถึงหนักมากอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเกิดน้ำท่วมขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ซึ่งในบางแห่งไม่เคยเกิดเหตุการณ์นี้มาก่อน และด้วยปริมาณน้ำที่มากเกินปกติ ยังได้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่าง มาก โดยเบื้องต้นนั้นได้มีการประเมินความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ แล้วว่ามีมูลค่าถึง 2 หมื่นกว่าล้านบาท ล่าสุดได้วัดค่าปริมาณน้ำฝนในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนกันยายนแล้ว ว่า มีค่าสูงกว่าปกติประมาณ 32% ซึ่งสูงกว่าทุกปีที่ตรวจวัดมา

พายุโซนร้อนนาลแก

พายุโซนร้อนนาลแก (Nalgae) จากเกาหลีเหนือ แปลว่า ปีก เป็นพายุลูกล่าสุดที่พัดเข้ามาสู่ในประเทศไทย เดิมทีเป็นพายุไต้ฝุ่น แต่อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน เคลื่อนตัวผ่านเกาะไหหลำ เข้าสู่อ่าวตังเกี๋ย และอ่อนกำลังลงอีกครั้งเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำตามลำดับ ที่เมืองดองฮอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2554

ผลกระทบจากพายุโซนร้อนนาลแก

เหมือน เป็นเคราะห์ซ้ำ หลังจากที่เจอพายุ 2 ลูกใหญ่ในเวลาไล่เลี่ยกันในเดือนกันยายน เพราะในเดือนตุลาคม ที่ประเทศไทยต้องเจอกับพายุนาลแก ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนาแน่น จนหลายพื้นที่เกิดอุทกภัยอย่างหนัก ทั้งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ซึ่งในระยะนี้ยังมีแนวโน้มว่า อุกทกภัยครั้งนี้จะยาวนาน สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิต ตลอดจนพื้นที่การเกษตร และพื้นที่เศรษฐกิจจำนวนมาก ซึ่งสถานการณ์ล่าสุดพื้นที่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมก็ถูกน้ำท่วมไปด้วย และเส้นทางคมนาคมทั้งสายเอเชีย และพหลโยธินที่มุ่งสู่ภาคเหนือ ก็ถูกปิดเส้นทางเดินรถชั่วคราว ซ้ำหนักในแถบ จ.ปทุมธานี นครนายก สมุทรปราการ รวมไปถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังต้องรับช่วงต่อกับเหตุการณ์ครั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้กรุงเทพมหานคร ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของไทย ได้รับความเสียหายมากขึ้น

อย่างไรก็ดี การอยู่กับภัยธรรมชาติ ซึ่งถือว่าปีนี้รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้น สิ่งที่สามารถทำได้ก็คอการเฝ้าระวัง และเตรียมพร้อมรับมือ เนื่องจากในเดือนตุลาคม-ธันวาคม ทางกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่ายังคงมีปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าค่าปกติอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ซึ่งกำลังจะเข้าสู่ช่วงฤดูน้ำหลาก ปี 2554 ปีแห่งการต่อสู้เพื่ออยู่รอด คงเป็นที่จดจำของทุกคน ทั้งผู้ที่ประสบภัย และผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือ หากมองในแง่บวกอยู่บ้าง ก็นับว่าเป็นอีก 1 เหตุการณ์สำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นคนไทย ที่ไม่ว่าจะอยู่ภาคไหนก็ยังมีน้ำใจช่วยเหลือไม่ทิ้งกัน







นวนครอ่วม 'ยุทธศักดิ์'แจง น้ำท่วมเกือบ100% [ ไทยรัฐ : 18 ต.ค. 54 ]

"ยุทธศักดิ์ ศศิประภา" เผยนิคมอุตสาหกรรมนวนครหนัก เบื้องต้นทหารในพื้นที่รายงานปริมาณเข้าท่วมกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ลั่นสามารถกู้คืนได้ หากปริมาณน้ำไม่เพิ่มขึ้น เน้นระดมทหารเร่งสูบน้ำออกจากโรงงาน

เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวก่อนเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า สถานการณ์น้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานีนั้น มีการระดมเจ้าหน้าที่ทหารทำพนังกั้นน้ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยอมรับว่า มีน้ำซึมผ่านเข้ามาในนิคมบ้าง โดยระดับน้ำในช่วงกลางดึกที่ผ่านมานั้น น้ำข้างนอกมีความสูงกว่าน้ำข้างในนวนครประมาณ 1 เมตร เพราะฉะนั้นกระสอบทรายที่วางอยู่ ก็สามารถซึมได้ตลอดเวลา รวมทั้งน้ำได้เข้ามาข้างใน ทั้ง ลามไปในท่อ และเข้าไปโผล่ที่บริเวณด้านหน้าของนิคม ดังนั้นระดับน้ำจึง

เพิ่มขึ้นตลอด ประกอบกับ เมื่อวานนี้ (17 ต.ค.) การที่ผมได้ลงไปตรวจเยี่ยม ก็พบว่า ช่วงที่เดินทางไปถึง ระดับน้ำได้ท่วมไปประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่นิคมฯ ตอนจะกลับ จึงมองดูอีกครั้ง ก็คาดว่าน่าจะอยู่ที่ระดับ 40 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ได้แต่หวังว่า ช่วงเช้าของวันนี้ระดับน้ำน่าจะเข้าท่วมประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร อย่างไรก็ตาม ได้รับรายงานจากผู้บัญชาการกรมทหารราบที่ 11 ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ พบว่า ตอนนี้ระดับน้ำได้เข้าท่วมทั้งหมด 80 - 90 เปอร์เซ็นต์แล้ว

นอก จากนี้ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ยังกล่าวต่อว่า อยากให้ทางจังหวัดได้ทำการเปิดประตูระบายน้ำเพิ่มเติม เนื่องจากการประเมินของเจ้าหน้าที่ได้คาดการณ์ว่า ยังสามารถกู้นิคมอุตสาหกรรมนวนครได้ เพราะแต่ละโรงงานมีการนำกระสอบทรายมากั้นบริเวณโดยรอบของโรงงาน ป้องกันนำเข้าโรงงานเพิ่มเติม

ดังนั้นต่อจากนี้ไป ทางทหารกำลังเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ภายในโรงงานและปริมาณน้ำก็จะมากองกันอยู่ตรงบริเวณถนน ถ้าน้ำไม่มากกว่านี้ ก็จะช่วยผลักดันน้ำออกจากตัวโรงงานได้

ผู้สื่อข่าวถามว่าจะสามารถกู้นิคมอุตสาหกรรมนวนครกลับมาได้หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ที่คุยกันกับผู้บริหาร สามารถกู้ได้ ถ้าปริมาณน้ำมากกว่านี้ก็ลำบากหน่อย ส่วนอุปสรรคนั้น ตอนนี้ประชาชนอพยพออกไปเป็นจำนวนมาก ขนาดนี้จึงเหลือแต่กำลังทหาร เนื่องจากกำลังพลออกไปหมดแล้ว จึงทำให้การทำงานจึงเกิดความเหนื่อยล้าบ้าง ก็สั่งให้มีการสลับผลัดเวรกัน อย่างไรก็ตามได้มีการประสานไปยังศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศปภ.) เพื่อประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมกับขอกำลังเข้ามายังพื้นที่ในการเร่งกู้นิคมอุตสาหกรรมนวนคร







ปิดถนนสามเสน พนังกั้นบางกระบือแตก น้ำสูง 40 ซม. [ ผู้จัดการออนไลน์ : 22 ต.ค. 2554 20:29 น. ]

พนังกั้นน้ำเขียวไข่กาแตก ทำน้ำทะลักเข้าพื้นที่แยกบางกระบือ โรงเรียนราชินีบน ข้ามเข้าถนนสามเสน สูงกว่า 40 ซม. เจ้าหน้าที่เร่งซ่อมแซม ล่าสุดการไฟฟ้าเริ่มตัดกระแสไฟบางส่วน ขอประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทางเข้า-ออก เหตุปิดถนนแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณท่าเขียวไข่กา สี่แยกบางกระบือ ถ.สามเสน กระสอบทรายที่ทำเป็นแนวกั้นน้ำเกิดแตก ทำให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาทะลักท่วม บริเวณสี่แยก

บางกระบือ และข้ามถนนสามเสนแล้วความสูงประมาณ 40 ซม. เจ้าหน้าที่ทหารเร่งนำกระสอบทรายปิดสี่แยกบางกระบือ และสามเสนอย่างเร่งด่วน พร้อมนำหินทุบมากั้นน้ำบริเวณสี่แยก

ต่อมา น้ำได้ทะลักเข้าท่วมโรงเรียนราชินีบน ความสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงเริ่มเข้ามาตัดกระแสไฟฟ้าบางส่วน และขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางถนนสามเสนทั้ง

ขาเข้าและขาออก เนื่องจากน้ำได้เข้าท่วมถนนทั้งสองฝั่งแล้ว ต่อมา สน.สามเสน ประกาศปิดการจราจรถนนสามเสน บริเวณสี่แยกบางกระบือ

ล่าสุด ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่บริเวณท่าเขียวไข่กา และสั่งให้มีการเพิ่มความสูงพนังกั้นขึ้นอีก 3 เมตร และมีการตัดกระแสไฟฟ้าในพื้นที่บางส่วนด้วย


ปะชาชนชาวชุมชนเขียวไข่กาและประชาชนย่านใกล้เคียงช่วยกันทำคันกั้นน้ำบริเวณสี่แยกบางกระบือ หลังจากที่น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ทะลักไหลผ่านกำแพงโรงเรียนราชินีบน และเอ่ออย่างรวดเร็วเข้ามาท่วมถนนสามเสนและโรงเรียนราชินีบน จนระดับน้ำสูงเกือบ 1 เมตร สูงกว่าพื้นถนน พร้อมกันนี้ได้มีทหารมาช่วยลำเลียงถุงทรายเข้าไปอุดจุดที่ทะลุ พร้อมจัดหน่วยเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เมื่อ 22 ต.ค.2554







น้ำท่วมรันเวย์ ทอท.ปิดสนามบินดอนเมืองถึงสิ้นเดือน [ ไทยรัฐ : 25 ต.ค. 54 ]

ประธานบอร์ดทอท. รับปิดสนามบินดอนเมืองจนถึงสิ้นเดือน หลังน้ำไหลจากฐานทัพอากาศเข้ารันเวย์

เมื่อ เวลา 17.00 น. วันที่ 25 ต.ค. พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี ประธานคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า เนื่องจากน้ำได้ไหลเข้าท่วมบริเวณรันเวย์สนามบินดอนเมือง เพื่อความปลอดภัยด้านการบินจึงสั่งให้มีการปิดสนามบินดอนเมืองเป็นการชั่ว คราว โดยได้ประสานไปยังกรมการบินพลเรือนให้ประกาศหยุดทำการบิน ห้ามมิให้การบินขึ้นลงของเครื่องบินตั้งแต่เวลา

ประมาณ 14.00 น. ของวันที่ 25 ต.ค.ไปจนถึงสิ้นเดือนนี้ เพื่อเฝ้าระวังระดับน้ำภายในสนามบิน

ทั้งนี้ ยอมรับว่าน้ำที่ไหลเข้ารันเวย์นั้นได้ไหลมาจากทางด้านทิศตะวันออกของสนามบิน โดยไหลซึมออกมาจากบริเวณฐานทัพอากาศดอนเมือง ซึ่งเดิมเป็นทิศทางที่สนามบินดอนเมืองไม่ได้มีการทำแนวกระสอบทราย เนื่องจากมั่นใจว่าแนวคันกั้นน้ำของฐานทัพอากาศดอนเมืองจะสามารถสกัดน้ำไม่ ให้ไหลเข้าท่วมสนามบินได้ แต่ล่าสุดน้ำได้ไหลซึมเข้ามา ซึ่งทอท.จะไม่เข้าไปสร้างแนวกระสอบทรายกั้นน้ำที่ไหลซึมมาจาก

บริเวณดังกล่าว เนื่องจากเป็นระยะทางที่ยาวมาก

นอกจากนี้ น้ำจากทางด้านทิศเหนือและทางด้านทิศตะวันตก จากบริเวณร้านเจ๊เล้ง ยังมีแนวโน้มไหล่บ่าเข้ามายังพื้นที่ของสนามบินดอนเมืองด้วย โดยทางด้านทิศเหนือ ทอท.ได้เร่งเสริมกระสอบทรายให้มีความสูงเพิ่มขึ้นอีก 1 เมตรแล้ว อย่างไรก็ตาม หากน้ำยังไหลเข้าท่วมพื้นที่สนามบินดอนเมืองอย่างต่อเนื่อง คาดว่าระดับน้ำคงไม่สูงมากจนสร้างความเสียหายให้กับสนามบินหรือเครื่องบินรอ การซ่อมที่จอดอยู่บริเวณสนามบินดอนเมืองแน่นอน







7 อ.ปทุมฯ วิกฤติ น้ำสูงกว่า 3 ม. 'ลำลูกกา'ไม่ได้รับความช่วยเหลือ [ ไทยรัฐ : 3 พ.ย. 54 ]

7 อำเภอเมืองปทุมธานีวิกฤติ หลายจุดสูงกว่า 3 เมตร "ลำลูกกา" ความช่วยเหลือเข้าไม่ถึง เร่งสร้างคันกู้ถนนสีขาว-เทศบาลท่าโขลง-ตลาดไท ระยะทางกว่า 4 กิโลเมตร ขณะที่น้ำท่วมสูงกว่า 60 ซม. คาดรถจะสามารถวิ่งได้วันศุกร์นี้

พระสนิทวงศ์ วุฑฒิวังโส ฝ่ายประชาสัมพันธ์ วัดพระธรรมกาย เปิดเผยว่า วัดพระธรรมกาย ได้ร่วมกับเทศบาลเทศบาลท่าโขลง และประชาชนชุมชนท่าโขลง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ทำการกู้ถนนสีขาว – เทศบาลท่าโขลง – ตลาดไท รวมระยะทางกว่า 4 กิโลเมตร ขณะนี้มีน้ำท่วมสูงร่วม 60 ซม. โดยมีการดำเนินการสร้างคันกั้นน้ำแบ่งเป็น 2 จุด คือช่วงคลองสองถึงคลองแอล1,2 ใช้กระสอบจำนวน 50,000 ใบ ในการทำคันกั้นน้ำที่มีความสูงประมาณ 70 ซม. และช่วงคลองแอล 1,2

ถึงเทศบาลท่าโขลง ใช้รถแบล็กโฮทำคันดิน จากนั้นทำการสูบน้ำออก โดยใช้เครื่องสูบน้ำจำนวน 6 เครื่อง พร้อมซ่อมพื้นผิวจราจรด้วย

สำหรับ การกู้ถนนสีขาวครั้งนี้ ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เมื่อวานนี้ (1พ.ย.) และจะใช้เวลาประมาณ 4 วัน คาดว่าแล้วเสร็จภายในวันศุกร์ที่ 4 พ.ย. นี้ และสามารถเปิดให้รถเล็กสัญจรไปมาได้ โดยเฉพาะชุนชนในเทศบาลท่าโขลง และพ่อค้าแม่ขายในตลาดไท งานนี้ถือเป็นความร่วมมือและความสามัคคีอันดีระหว่างวัดกับเทศบาลท่าโขลงและ ประชาชน ที่ช่วยกันกู้ถนนสีขาว ให้กลับมาใช้งานได้โดยเร็ว

ขณะ ที่พื้นที่ในจังหวัดปทุมธานี พบว่าน้ำท่วมทั่วทั้ง 7 อำเภอ โดยน้ำได้แผ่กระจายเป็นวงกว้าง ซึ่งน้ำได้ท่วมแล้วประมาณ 80

กว่าเปอร์เซ็นต์ของจังหวัดปทุมธานี โดยบริเวณถนนที่น้ำลึกมากที่สุด ได้แก่ อ.ลาดหลุมแก้ว อ.เมือง อ.สามโคก อ.ธัญบุรี อ.คลองหลวง และ อ.ลำลูกกา ที่มีระดับสูงตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ซึ่งไม่รวมตามหมู่บ้าน และชุมชนต่างๆ ที่ชาวบ้านบางแห่ง ไม่สามารถที่จะเดินลุยน้ำออกมาได้ เนื่องจากน้ำสูงกว่า 3 เมตร นอกจากนี้ยังพบว่ามีประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดก็คือผู้ที่อยู่ ด้านในที่ห่างจากถนนใหญ่เข้าไป โดยเฉพาะชาว อ.ลำลูกกา ถึงกับโอดครวญว่า อ.ลำลูกกานั้นเหมือนอยู่ไกลปืนเที่ยง ไม่ค่อยมีหน่วยงานมาดูแลทุกข์สุข แม้แต่รถทหาร ก็แทบจะไม่มีมาวิ่งรับชาวบ้านที่ต้องออกมาทำงานและซื้อข้าวของ หรือแม้แต่จะอพยพไปอยู่อื่นก็ไม่มี แถมน้ำที่ท่วมอยู่ก็สีดำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็นตลอดเวลา







ข้อเท็จจริง เรื่อง การระบายน้ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ปี 2554
ร้อยเรื่องราว…น้ำ
ความรู้การบริหารจัดการน้ำ-สำนักชลประทานที่ 3
เป็นบทความส่วนหนึ่งโดย เว็บบอร์ดของ http://www.changrob.com/ จาก การสัมภาษณ์ ดร.ชัย วัชรงค์ ทางสถานี TNN24 พูดเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ ปี 2554 สามารถชมคลิปวืดิโอได้ที่ http://youtu.be/zZderLzvZJQ
พฤศจิกายน 28, 2011 ที่ 15:04

ข้อเท็จจริง เรื่อง การระบายน้ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์

1. การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของ กฟผ. ทำอย่างไร

เขื่อน ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทุกเขื่อนเป็นเขื่อนเอนกประสงค์ มีหน้าที่กักเก็บน้ำไว้เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค การอุตสาหกรรมและการบรรเทาอุทกภัยเป็นหลัก ส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นเพียงผลพลอยได้จากการปล่อยน้ำผ่านเครื่องกำเนิด ไฟฟ้าตามปริมาณ เพื่อการใช้ประโยชน์ที่กล่าวข้างต้น

ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของ กฟผ. ตามหลักการจะควบคุมให้ระดับน้ำ อยู่ในกรอบของ “เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำ” (Rule Curve) ซึ่งมีอยู่ 2 เกณฑ์ คือ “เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง” (Lower Rule Curve) และ “เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน” (Upper Rule Curve) โดยในการจัดทำเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำนั้น ได้นำปัจจัยและข้อมูลของปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำและความต้องการใช้น้ำ ของพื้นที่ท้ายเขื่อนในรอบกว่า 30 ปี มาประกอบการจัดทำ ทั้งนี้ยังได้ทำการปรับปรุงตามสภาวการณ์เป็นระยะๆ

· เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง(Lower Rule Curve) จะทำหน้าที่บอกให้ทราบว่า หากเก็บน้ำไว้ต่ำกว่าระดับนี้ จะมีความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนน้ำในปีหน้า

· เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน(Upper Rule Curve) จะทำหน้าที่บอกให้ทราบว่า หากเก็บน้ำไว้สูงกว่าระดับนี้จะมีความเสี่ยงเรื่อง น้ำล้นเขื่อนจนอาจต้องเปิดประตูระบายน้ำล้น (Spillway)

ในสภาวการณ์ ปกติ เขื่อนจะควบคุมไม่ให้ระดับน้ำต่ำกว่า เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่างในช่วงฤดูแล้ง และช่วงฤดูฝน เขื่อนก็จะพยายามระบายน้ำเพื่อไม่ให้ระดับน้ำสูงเกินเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัว บน ดังนั้นเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำจึงเปรียบเสมือนเกณฑ์ที่คอยควบคุมระดับน้ำใน เขื่อนให้มีปริมาณน้ำเก็บกักที่เหมาะสมตามสภาวการณ์ของปริมาณน้ำทั้งเหนือ เขื่อนและสภาพน้ำในลุ่มน้ำท้ายเขื่อน เพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในภาพรวมตลอดทั้งปี

สำหรับ การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการ ติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ที่มีอธิบดีกรมชลประทานเป็นประธาน และอีก 8 หน่วยงานร่วมเป็นกรรมการ ประกอบด้วย กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุทกศาสตร์ สำนักการระบายน้ำ กทม. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ(สำนักงาน กปร.) และ กฟผ. โดยคณะอนุกรรมการฯ จะติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดและร่วมกันพิจารณาปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่จะต้องระบายออกจากเขื่อนทุกสัปดาห์หรือทุกวัน

2. ทำไมเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์จึงไม่ระบายน้ำออกมาก่อนในช่วงต้นฤดูฝนปีนี้

ช่วง ต้นฤดูฝนปีนี้ ณ วันที่ 1 พ.ค. เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำเก็บกัก 6,076 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 45.1 ของความจุ เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำเก็บกัก 4,784 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 50.3 ของความจุ ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำ (Rule Curve) ที่ใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนแล้วถือว่าอยู่ใน เกณฑ์ที่ต่ำมาก ซึ่งตามแนวปฏิบัติของการบริหารจัดการน้ำตามสถิติข้อมูลที่ใช้อ้างอิง จะต้องเก็บกักน้ำไว้ เพื่อให้สามารถมีน้ำไว้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในภาพรวมตลอดทั้งปี ดังนั้นปริมาณน้ำที่ระบายน้ำออกจากเขื่อนในช่วงนี้จึงเป็นไปตามความต้องการ ใช้เพื่อการเกษตรกรรมและสาธารณูปโภคเป็นหลัก

ต่อมามีพายุเข้ามาหลาย ลูกได้แก่ “ไหหม่า” (ปลาย มิ.ย.-ก.ค.) “นกเตน” (ปลาย ก.ค.-ส.ค.) พายุโซนร้อน “ไหถ่าง” และ “เนสาด” (เดือน ก.ย.) และ “นาลแก” (เดือน ต.ค.)

ทำให้มีฝนตกทั้งบริเวณเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนรวมทั้งพื้นที่ในภาคกลาง เกิดภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง นอกจากนั้นในลุ่มน้ำวังและลุ่มน้ำยมไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่รองรับน้ำ ดังนั้นแม้จะพยายามระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ก็มีข้อจำกัด ในการระมัดระวังผลกระทบต่อพื้นที่น้ำท่วมท้ายเขื่อน

3. ทำไมเขื่อนต้องระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น (Spillway) เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปล่อยน้ำผ่านการผลิตกระแสไฟฟ้า

ใน ปีนี้เขื่อนภูมิพลมีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น ระหว่างวันที่ 5-13 ต.ค. และ 18-20 ต.ค. ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น ระหว่างวันที่ 25 ส.ค. – 11 ก.ย. 2554

การที่ทั้ง 2 เขื่อนจำเป็นต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้นผ่านประตูระบายน้ำล้น นอกเหนือจากการระบายน้ำผ่านการผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากขณะนั้นมีปริมาณน้ำใกล้เต็มความจุของอ่างเก็บน้ำ และจากการติดตามข้อมูลปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างฯ ยังมีแนวโน้มที่มีปริมาณสูงอยู่ จึงจำเป็นต้องระบายน้ำออกเพิ่มมากขึ้น เพื่อควบคุมไม่ให้ระดับเก็บกักน้ำเกินความจุของอ่าง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนและอาคารประกอบ ทั้งนี้ในระหว่างการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น ก็ได้มีการเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำที่ไหลเข้าอ่างฯ อย่างใกล้ชิด เมื่อพบว่ามีแนวโน้มลดลงก็ให้ลดปริมาณการระบายน้ำ จนปัจจุบันไม่มีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้นจากเขื่อนทั้งสอง

4. เขื่อนต้องการเก็บน้ำไว้มากเพื่อประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือไม่

การ ผลิตกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการบริหารจัดการน้ำใน เขื่อน แต่เป็นผลพลอยได้จากการระบายน้ำตามความต้องการใช้น้ำเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ อาทิ การอุปโภค

บริโภค การเกษตรกรรม รวมทั้งการบรรเทาอุทกภัย ซึ่งการบริหารจัดการเรื่องปริมาณน้ำที่จะต้องระบายออก ในช่วงเวลาใดๆ ในรอบปี อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้ม สถานการณ์น้ำ ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อพิจารณาตัดสินใจบริหารน้ำร่วมกันอย่างใกล้ชิด

นอก จากนี้การเก็บกักน้ำไว้เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจะไม่ก่อให้เกิดผล ประโยชน์ในเรื่องรายได้ที่เพิ่มขึ้นต่อ กฟผ. แต่ประการใด ทั้งนี้เนื่องจากในระบบโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปัจจุบัน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานกำหนดให้ กฟผ. ได้รับอัตราค่าไฟฟ้าในรูปแบบ “ผลตอบแทนเงินลงทุน” (ROIC) จึงไม่มีแรงจูงใจให้ กฟผ. จะต้องเก็บกักน้ำไว้ในปริมาณมากๆ แต่อย่างใด ดังนั้น ปัจจุบันการระบายน้ำจากเขื่อนจึงเป็นไปตามความจำเป็นทางด้านเกษตรกรรม การบรรเทาอุทกภัย และสาธารณูปโภคเป็นหลัก

5.ปัจจุบันเขื่อนลดปริมาณการปล่อยน้ำลงแล้ว แต่ทำไมน้ำยังท่วมอยู่

ปัจจุบัน (29 ต.ค. 54) เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีการระบายน้ำออกรวมกันวันละ 53 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์เพียงประมาณ 610 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือคิดเป็นร้อยละ 16.7 ของมวลน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ราว 3,650 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดังนั้นการระบายน้ำจากทั้งสองเขื่อนจึงไม่ใช่สาเหตุหลักของปัญหาน้ำท่วม ซึ่งน้ำที่ผ่านจังหวัดนครสวรรค์มาจากแม่น้ำหลัก 4 สาย คือ ปิง วัง ยม และน่าน ขณะที่มีเขื่อนขนาดใหญ่กั้นอยู่เพียง 2 สาย คือ แม่น้ำปิงและน่าน ปริมาณน้ำส่วนที่เหลือจึงมาจากแม่น้ำยมและวัง รวมทั้งน้ำที่ค้างอยู่ตามทุ่งไหลลงมา ซึ่งมีปริมาณรวมถึงร้อยละ 83.3 ของน้ำที่ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ แล้วไหลสู่กรุงเทพฯและปริมณฑลไปรวมกับมวลน้ำที่ยังค้างอยู่ตามไร่นา จากสภาวะน้ำท่วมพื้นที่ภาคกลาง ตั้งแต่ช่วงเดือน ส.ค. – ก.ย. ทำให้มวลน้ำที่หลากเข้าสู่กรุงเทพฯ ยังคงมีปริมาณมาก

นอกจากนี้แล้ว เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ยังช่วยเก็บกักน้ำปริมาณจำนวนมากไว้ในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. เพื่อบรรเทาสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งแม้ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำทั้งสองเขื่อนมากถึง 10,940 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีการระบายน้ำออกรวมกันเพียง 4,915 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยได้เก็บกักน้ำไว้รวมทั้งสิ้น 6,025 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งหากปริมาณน้ำจำนวนนี้ไม่ได้ถูกเก็บกักไว้ในเขื่อนทั้งสอง จะส่งผลกระทบต่อภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางมากขึ้น

ขอขอบคุณ http://www.changrob.com


กราฟแสดงการเก็บน้ำของเขื่อนภูมิพลในปี 2549
กราฟแสดงการเก็บน้ำของเขื่อนภูมิพลในปี 2554
กราฟแสดงการเก็บน้ำของเขื่อนสิริกิติ์ในปี 2554